TNN “โลกร้อนจัด” ถึงจุดที่มนุษย์ แทบอยู่ไม่ได้แล้วหรือ?

TNN

TNN Exclusive

“โลกร้อนจัด” ถึงจุดที่มนุษย์ แทบอยู่ไม่ได้แล้วหรือ?

“โลกร้อนจัด” ถึงจุดที่มนุษย์ แทบอยู่ไม่ได้แล้วหรือ?

เราได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากลมแดด มะเร็งผิวหนัง และโรคจากความร้อนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแทบทุกที่ในโลก ทำให้เกิดคำถามว่า โลกของเรานั้น เริ่มที่จะร้อนจนทนจะอยู่ไม่ได้แล้วหรือไม่?

พิธีแสวงบุญฮัจญ์ที่ซาอุดีอาระเบียปีนี้ กลายเป็นเหตุสลดเมื่อมีผู้เสียชีวิตกว่า 1,000 พันคนจากอากาศร้อนจัด จากจำนวนผู้แสวงบุญ 1.8 ล้านคน อุณหภูมิบางวันกลางประเทศแห่งทะเลทรายนี้ สูงถึง 52 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว


นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คลื่นความร้อนเป็นอันตรายต่อมนุษย์ แค่ช่วงปีนี้ เราได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากลมแดด มะเร็งผิวหนัง และโรคจากความร้อนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแทบทุกที่ในโลก


ทำให้เกิดคำถามว่า โลกของเรานั้น เริ่มที่จะร้อนจนทนจะอยู่ไม่ได้แล้วหรือไม่?


ร้อน + ชื้น = เสียชีวิตเร็วขึ้น


งานศึกษา Evaluating the 35°C wet-bulb temperature adaptability threshold for young, healthy subjects เขียนโดย ดาเนียล เวเซญโญ (Daniel J. Vecellio) และคณะ เสนอว่า หากโลกเราร้อนขึ้นเฉย ๆ ร้อนแห้ง ๆ แบบภูมิอากาศทะเลทราย ไม่ว่าอุณหภูมิจะสูงแตะหลัก 50 องศาเซลเซียส ร่างกายของมนุษย์ก็ยังทนทานสภาพอากาศเช่นนี้ได้ 


แต่สภาพอากาศของโลกของเรานั้นเป็นแบบอุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet-bulb Temperature) หรือมีทั้งความร้อนและชื้น ปกคลุมชั้นบรรยากาศ มันจึงเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์อย่างมาก เพราะเหงื่อไม่สามารถขับออกมาได้ตามปกติ เพราะความชื้นที่มากเกินไป แต่สภาพอากาศยังคงร้อน ดังนั้น ร่างกายของเราจึงเสมือนขาดเกราะป้องกันความร้อนไปหนึ่งชั้น เมื่อเป็นแบบนี้ ก็เร่งให้มนุษย์นั้นเสียชีวิตจากความร้อนได้ง่ายขึ้น 


ยิ่งไปกว่านั้น ในงานศึกษา An adaptability limit to climate change due to heat stress ยังได้เสนออีกว่า หากมนุษย์เผชิญกับ Wet-bulb Temperature ในจุดที่อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียส ไม่ถึง “6 ชั่วโมง” ก็อาจจะเสียชีวิตทันที


งานศึกษานี้ ตอบคำถามถึงอีกงานวิชาการของงานศึกษาที่ชี้ว่า ชาวยุโรปกว่า 70,000 ราย เสียชีวิตเพราะอุณหภูมิที่สูงเกินไปในช่วงปี 2003 จริงหรือ เพราะอุณหภูมิในเวลานั้นไม่ได้สูงเกิน 50 องศาเซลเซียส แต่หากพิจารณาว่าเกิดจากอุณหภูมิ Wet-bulb Temperature ก็จะอธิบายถึงการเสียชีวิตเหล่านี้ได้


ไม่เพียงเท่านั้น สถิติตั้งแต่ปี 1979 ถึง 2017 ชี้ว่า อุณหภูมิแบบกระเปาะเปียก มีอัตราการเกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญไปทั่วทุกมุมโลก

“โลกร้อนจัด” ถึงจุดที่มนุษย์ แทบอยู่ไม่ได้แล้วหรือ?

ที่มา: The emergence of heat and humidity too severe for human tolerance


เกิดจากโลกร้อน?


ลำพังการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก หรือการสร้างก๊าซมีเทน ที่นำมาสู่ปัญหาการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ การเผาไหม้เชื้อเพลิง แต่ความร้อนที่เพิ่มขึ้น ก็ยังไม่ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงถึง 50 องศาเซลเซียส จึงยังไม่เป็นอันตรายกับมนุษย์มากนัก


กลับกัน หากมีตัวแปรด้านความชื้นเข้ามา จะทำให้เกิด Wet-bulb Temperature ซึ่งทวีความอันตรายต่อมนุษย์มากยิ่งขึ้น เพราะเพียง 35 องศาเซลเซียสก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้


กระนั้น คำถามที่ตามมา นั่นคือ แบบนี้ โลกเราจะอยู่ต่อไปได้หรือไม่?


คำถามนี้ ตีความคำตอบได้ 2 แบบ นั่นคือ แบบด้านบวก และแบบโลกความเป็นจริง


แบบด้านบวกคือ รัฐบาลของทุกประเทศต้องออกมาตรการและสนับสนุน “พลังงานสะอาด” เพราะตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี มีการคิดค้นพลังงานสะอาดให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับพลังงานเชื้อเพลิง เรียกได้ว่าสามารถใช้ทดแทนได้


แต่แบบโลกความเป็นจริง คือ ตามงานศึกษา Copernicus: Global temperature record streak continues – April 2024 was the hottest on record เสนอว่า โลกเราจะร้อนขึ้นทุก ๆ ปีเป็นเรื่องปกติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สอดคล้องกับสถิติของสำนักบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ชี้ชัดว่า อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น 


นั่นหมายความว่า สักวันหนึ่งโลกจะร้อนถึงระดับอยู่ไม่ได้ขึ้นมาจริง ๆ แต่เป็นอนาคตอีกไกล


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล [เฮย์เดน วิศว์]


แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ