TNN Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง

TNN

TNN Exclusive

Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง

Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง

ในญี่ปุ่น บ้านร้างทะยานจากอัตราร้อยละ 7.6 ในช่วงปี 1978 สู่อัตราร้อยละ 13.6 ในปี 2018 นั่นหมายความว่า ภายในระยะเวลาประมาณ 40 ปี อัตราบ้านร้างเพิ่มสูงเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

เป็นเรื่องที่น่าตกใจและหดหู่ใจ สำหรับประเด็นที่ญี่ปุ่นนั้นมีอัตราบ้านร้างมากถึง “9 ล้านหลัง” ในปี 2024 และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต


สถิติของกระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารแห่งญี่ปุ่น ที่ทำการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน จนถึงปี 2018 ชี้ชัดว่า ภายหลังช่วงสงคราม (Postwar Era) จำนวนบ้านร้างของญี่ปุ่น มีอัตราที่พุ่งทะยานขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด 


บ้านร้างทะยานจากอัตราร้อยละ 7.6 ในช่วงปี 1978 สู่อัตราร้อยละ 13.6 ในปี 2018 นั่นหมายความว่า ภายในระยะเวลาประมาณ 40 ปี อัตราบ้านร้างเพิ่มสูงเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง


แน่นอน สื่อมวลชนส่วนมากมักให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนี้ เพราะญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และอัตราการเกิดน้อย จึงทำให้ไม่มีอุปสงค์มากพอในการมีบ้าน แต่หากพิจารณาข้อมูลจะพบว่า จำนวนที่อยู่อาศัยกลับมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ไม่เพียงแค่บ้านร้าง


ในงานศึกษา Why Is Japan’s Housing Vacancy Rate So High? A History of Postwar Housing Policy ได้ให้ข้อเสนออย่างชัดเจนว่า อัตราจำนวนที่อยู่อาศัยไม่ได้สัมพันธ์กับสังคมผู้สูงอายุ แต่สัมพันธ์กับ “นโยบายอสังหาริมทรัพย์” ซึ่งเป็นเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomics) เป็นที่ตั้ง


ในช่วงหลังพ่ายแพ้สงคราม อัตราจำนวนที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น จากการที่รัฐบาลพยายามอัดฉีดเงินอุดหนุน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเช่าซื้อ เพื่อรองรับการขยายตัวของแรงงานในภาคอุตสาหกรรม โดยให้เงินให้เปล่าหรือลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่บริษัทสร้างบ้าน ดังนั้น บ้านร้างจึงมากขึ้นตามไปด้วย


เหตุผลเพราะ เมื่อการก่อสร้างบ้านเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยอุดหนุนของรัฐบาล แต่จำนวนผู้อยู่อาศัยไม่ได้เพิ่มตามจำนวนบ้าน ทำให้ประชากรเริ่มหดตัว นั่นจึงทำให้ปริมาณบ้านมีมากกว่าผู้ต้องการอยู่ อีกทั้ง ราคาบ้านในทำเลทองญี่ปุ่น ก็แพงจนประชาชนทั่วเข้าไม่ถึง เป็นเหตุให้บ้านร้างเพิ่มสูงขึ้น 


พอมายุค 70s-80s เป็นช่วงที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการจัดหาสวัสดิการแก่ประชาชน โดยเฉพาะการอยากให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเอง ดังนั้น รัฐบาลจึงลดดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อบ้าน หรือการเปิดอิสระทางภาคการเงินแก่ธนาคารและสถาบันทางการเงินต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถสะสมทุนผ่านการลงทุนยังต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาอุดหนุนการซื้อบ้านภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ผลคือ บ้านร้างมีจำนวนลดลง


และในปัจจุบัน ญี่ปุ่นกำลังเผชิญสภาวะเงินฝืดขั้นรุนแรง รัฐบาลจึงอัดฉีดเงินกลับสู่ระบบ โดยลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะเงินกู้ระยะยาว ผลจึงมาตกที่การซื้อบ้านที่ต้องผ่อนยาวนาน ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากยิ่งขึ้น


สรุปง่าย ๆ เรื่องของบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากนโยบายอสังหาฯ ของรัฐบาล มากกว่าปัจจัยสังคมสูงวัย 


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล: ญี่ปุ่นเตรียมเป็น “เมืองผี” หลังอัตราบ้านร้าง ทะลุ 9 ล้านหลัง


Exclusive by วิศรุต หล่าสกุล


แหล่งอ้างอิง


ข่าวแนะนำ