Reaction Engines พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์พลังงานแอมโมเนียสำหรับใช้งานกับเครื่องบิน
เครื่องปฏิกรณ์พลังงานแอมโมเนียน้ำหนักเบา (Lightweight Ammonia Reactors) สามารถนำไปติดตั้งในยานพาหนะต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องบิน
Reaction Engines บริษัทด้านเทคโนโลยีการบินในประเทศอังกฤษประกาศแผนการร่วมทุนลงทุนกับบริษัทพันธมิตรเพื่อพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์พลังงานแอมโมเนียน้ำหนักเบา (Lightweight Ammonia Reactors) สามารถนำไปติดตั้งในยานพาหนะต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องบิน พลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางขนส่งในอนาคต โดยชูจุดเด่นในเรื่องประสิทธภาพที่มากกว่าการใช้น้ำมันเครื่องบินไอพ่น
ก่อนหน้านี้บริษัทได้ทำการนำเสนอแนวคิดการใช้พลังงานแอมโมเนียเปรียบเทียบกับพลังงานไฮโดรเจนในจำนวนที่มีปริมาณเท่ากันพบว่าพลังงานแอมโมเนียมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าแต่มีต้นทุนในการบริหารจัดการที่ต่ำกว่า การขนส่งสามารถทำได้ง่ายกว่าแต่สร้างพลังงานขับเคลื่อนได้มากกว่าการใช้พลังงานไฮโดรเจนเพียงอย่างเดียวประมาณ 70% ซึ่งหากใช้เชื้อเพลิงทั้ง 2 ร่วมกันจะสามารถลดปริมาณการบรรทุกเชื้อเพลิงของเครื่องบินลงได้
บริษัทได้ทำการร่วมลงทุนกับบริษัท IP Group และองค์การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศอังกฤษ (STFC) โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไอพ่นแบบแลกเปลี่ยนความร้อน Synergetic Air-Breathing Rocket Engine (SABRE) อาศัยหลักการทำงานโดยการจับอากาศร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่นนำไปขับเคลื่อนเครื่องยนต์จรวดที่มีเชื้อเพลิงแอมโมเนีย-ไฮโดรเจน วิธีการดังกล่าวทำให้สามารถบินด้วยความเร็วสูงประมาณ 5 มัค เร็วกว่าเสียงประมาณ 5 เท่า และหากได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอาจสามารถติดตั้งเข้ากับเครื่องบินอวกาศ (Spaceplace) รวมไปถึงรูปแบบยานพาหนะอื่น ๆ ในอนาคต
พลังงานแอมโมเนียและไฮโดรเจนทางเลือกใหม่ของพลังงาน องค์ประกอบของแอมโมเนียมีลักษณะเป็นการรวมตัวกันของโมเลกุลไฮโดรเจนและออกซิเจนเรียกว่า NH3 แอมโมเนียมีความปลอดภัยในการขนส่งมากกว่าไฮโดรเจน การเก็บรักษาแอมโมเนียใช้อุณหภูมิ -33 องศาเซลเซียส ในขณะที่ไฮโดรเจนใช้อุณหภูมิในการเก็บรักษา -235 องศาเซลเซียส แม้ทางบริษัทยืนยันถึงความปลอดภัยในการใช้พลังงานแอมโมเนียที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแต่ในทางวิทยาศาสตร์ทราบกันดีกว่าการใช้พลังงานแอมโมเนียมีความเสี่ยงหากเกิดการรั่วไหลจะมีกลิ่นฉุนรุนแรงอาจเกิดอันตรายกับผู้ที่สูดดม รวมไปถึงปัญหาในด้านการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่ทำให้เกิดมลพิษในอากาศ
ข้อมูลจาก newatlas.com, futurism.com, theverge.com
ภาพจาก reactionengines.co.uk
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67