นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโครงการใช้ปัญญาประดิษฐ์ AI พูดคุยกับวาฬสเปิร์ม
เสียงคลิกวาฬสเปิร์มถูกรวบรวมและวิเคราะห์โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบจำลองที่เรียกว่า GPT-3
นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Project CETI หรือ Cetacean Translation Initiative กำลังศึกษาวิจัยเสียงคลิกของวาฬสเปิร์มโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ที่สามารถเข้าใจเสียงร้องของวาฬสเปิร์มและอาจนำไปสู่การสนทนาโต้ตอบกันระหว่างมนุษย์กับวาฬสเปิร์ม นักวิทยาศาสตร์ทราบมานานแล้วว่าวาฬสเปิร์มส่งเสียงคลิกเรียกว่า (Codas) สื่อสารกันไปมาระหว่างกันในระยะหลายหลายกิโลเมตรแต่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจความหมายของเสียงคลิกดังกล่าว
โครงการวิจัย Project CETI เริ่มต้นในปี 2017 โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาตินำโดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระยะเริ่มแรกนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามรวบรวมข้อมูลเสียงคลิกของวาฬสเปิร์มมากกว่า 4,000 ล้านรูปแบบ สมมุติฐานเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์สังเกตว่าเสียงคลิกของวาฬสเปิร์มมีลักษณะคล้ายกับการส่งรหัสอิเล็กทรอนิกส์ของมนุษย์และมีความหมายซ่อนอยู่ วาฬสเปิร์มไม่ได้ส่งเสียงร้องโดยไร้จุดประสงค์
ก่อนหน้านี้ในปี 2005 นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มได้พยายามศึกษาเสียงคลิกของวาฬสเปิร์มในโครงการ The Dominica Sperm Whale Project นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เวลาหลายปีในการเดินทางติดตามวาฬสเปิร์มกลุ่มหนึ่งบริเวณทะเลแคริบเบียนและสามารถรวบรวมเสียงคลิกของวาฬสเปิร์มได้กว่า 100,000 รูปแบบ ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Project CETI เตรียมนำข้อมูลจากโครงการวิจัยดังกล่าวมาทำการประมวลผลร่วมกันด้วยโดยใช้แบบจำลองที่เรียกว่า GPT-3 แบบจำลองทางภาษาถอดความหมายอัตโนมัติเป็นข้อความที่มนุษย์เข้าใจ แบบจำลอง GPT-3 ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ผลงานการวิจัยพัฒนาโดย OpenAI ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญญาประดิษฐ์ในซานฟรานซิสโก
การสนทนาพูดคุยกับวาฬสเปิร์มกลายเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของมนุษย์ในการศึกษาทำความเข้าใจสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลกหากโครงการ Project CETI ประสบความสำเร็จอาจเป็นครั้งแรกของโลกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถตีความหมายเสียงของคลิกจากวาฬสเปิร์มและสามารถสนทนาโต้ตอบไปมาระหว่างกัน ความมหัศจรรย์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอาจนำไปสู่การเข้าใจรูปแบบการดำรงชีวิตของวาฬสเปิร์มสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
ข้อมูลจาก futurism.com, hakaimagazine.com
ภาพจาก projectceti.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67