TNN Airbus Zephyr S ยานบินไร้คนขับ ใช้พลังแสงอาทิตย์บินยาวนานไม่ลงพื้น 18 วัน

TNN

Tech

Airbus Zephyr S ยานบินไร้คนขับ ใช้พลังแสงอาทิตย์บินยาวนานไม่ลงพื้น 18 วัน

Airbus Zephyr S  ยานบินไร้คนขับ ใช้พลังแสงอาทิตย์บินยาวนานไม่ลงพื้น 18 วัน

Airbus Zephyr S ประสบความสำเร็จ บินบนชั้นสตราโตสเฟียร์ได้นาน 18 วัน โดยไม่ลงจอดสักครั้ง

Aisbus ประกาศความสำเร็จทดสอบยานบิน "Airbus Zephyr S" ยานบินไร้คนขับ สามารถบินอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนานถึง 18 วัน โดยไม่ลงมาจอดบนพื้นเลย อาศัยแสงอาทิตย์เป็นพลังงานเพียงอย่างเดียว การทดสอบดังกล่าวได้ติดกล้อง OPAZ  ไว้ที่ตัวยานด้วย เพื่อทดสอบการสำรวจสภาพบนพื้นดินผ่านทางตัวยาน ทั้งนี้ทาง Aisbus ได้ให้สัมภาษณ์ว่าพวกเขาต้องการที่จะสร้างยานที่สามารถบินได้ต่อเนื่องนานเป็นเดือน โดยขั้นต้นตั้งเป้าไว้ที่ 3 เดือน และ 6 เดือนในอนาคต

Airbus Zephyr S  ยานบินไร้คนขับ ใช้พลังแสงอาทิตย์บินยาวนานไม่ลงพื้น 18 วัน ขอบคุณภาพจาก : Search - Airbus Home - Airbus 

 

 

สถิติที่น่าสนใจของ "Airbus Zephyr S"

  • สามารถบินบนชั้นสตราโตสเฟียร์ได้ 36 วัน ในการทดสอบบิน 2 ครั้ง ภายในปี 2021 พิสูจน์ว่าตัวยานมีสถานะเป็น HAPS เพียงลำเดียว ที่สามารถทำระยะเวลาได้ยาวนานที่สุด

  • สร้างสถิติโลกใหม่ ในการทำระดับความสูงที่แน่นอน สำหรับ UAS โดยทำได้ที่ระดับ 76,100 ฟุต

  • ได้รับการอนุมัติว่ามีความปลอดภัยในการบินโดย FAA หน่วยงานที่ทำงานภายใต้ US National Airspace System (NAS)

  • ทดสอบการใช้กล้อง OPAZ ในการสำรวจพื้นโลกได้ประสบความสำเร็จ สามารถสตรีมข้อมูลส่งลงมาได้

  • ตอนนี้ Airbus Zephyr S มีชั่วโมงบินรวมทั้งสิ้น 2,435 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ได้

  • Airbus Zephyr S  สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ทางการทหาร สำหรับบินตรวจการอย่างต่อเนื่อง, ทางงานพลเรือน บินสำรวจพื้นที่ภัยพิบัติ หรือให้บริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล เป็นต้น 

  • ในการทดสอบนี้ ถือเป็นการทดสอบครั้งสุดท้ายของ Airbus Zephyr S ที่ต้องขึ้นบิน 6 ครั้ง 4 ครั้งสำหรับระดับการบินต่ำ อีก 2 ครั้งสำหรับการบินในชั้นสตราโตสเฟียร์


ข้อจำกัดของ Airbus Zephyr S ตอนนี้มีอย่างเดียว คือมันไม่สามารถใช้งานในพื้นที่ห้ามบินได้เหมือนดาวเทียม และต้องใช้น่านฟ้าร่วมกันกับเครื่องบินพาณิชย์


Airbus Zephyr S  ยานบินไร้คนขับ ใช้พลังแสงอาทิตย์บินยาวนานไม่ลงพื้น 18 วัน ขอบคุณภาพจาก : Search - Airbus Home - Airbus 

 

 

แหล่งที่มา airbus.com

ข่าวแนะนำ