Terran R จรวดเครื่องแรกของโลก ที่สร้างด้วยการทำ 3D Printing ทั้งหมด
ปัจจุบันธุรกิจอวกาศได้ทำการหยิบเอาเทคโนโลยี 3D Printing มาช่วยในการทำจรวดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะบริษัท Rocket Lab, NASA, และ SpaceX ต่างก็หยิบเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ผลิตยานอวกาศแทบทั้งสิ้น แต่ตอนนี้คงไม่มีบริษัทไหนที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้น่าทึ่งได้เท่ากับบริษัทสตาร์ทอัพแห่งแคลิฟอร์เนียอย่าง Relativity Space อีกแล้ว
ปัจจุบันธุรกิจอวกาศได้ทำการหยิบเอาเทคโนโลยี 3D Printing มาช่วยในการทำจรวดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะบริษัท Rocket Lab, NASA, และ SpaceX ต่างก็หยิบเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ผลิตยานอวกาศแทบทั้งสิ้น แต่ตอนนี้คงไม่มีบริษัทไหนที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้น่าทึ่งได้เท่ากับบริษัทสตาร์ทอัพแห่งแคลิฟอร์เนียอย่าง Relativity Space อีกแล้ว เมื่อทางบริษัทออกมาประกาศว่า ทางบริษัทใช้เวลาเพียง 60 วันเท่านั้น ในการผลิตจรวด Terran R ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมด
เกี่ยวกับจรวด Terran R
จรวด Terran R จะใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในการสร้างขึ้นมาทั้งหมด ทำให้มันเป็นจรวดที่สามารถสร้างให้แล้วเสร็จได้โดยใช้เวลาเพียง 60 วันเท่านั้น โดยที่โดดเด่นยิ่งกว่าคือเจ้าจรวดตัวนี้สามารถที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย โดย Terran R เป็นจรวดแบบ Two-stage หรือยิงแบบ 2 ขั้นตอน ตัวจรวดสูง 66 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.9 เมตร ตัวจรวดถูกออกแบบให้ใช้สำหรับเพื่อปล่อยดาวเทียม หรือพาเดินทางไปยังดาวเคราะห์ต่าง ๆ สามารถรับน้ำหนักได้ 20,000 กิโลกรัม สามารถยิงขึ้นไปยัง low-Earth orbit หรือวงโคจรล่างสุดของโลกได้ สเปคของ Terran R นั้นใกล้เคียงกับจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่สามารถรับน้ำหนักได้สูงถึง 22,800 กิโลกรัม
Terran R ขับเคลื่อนโดยใช้เครื่องยนต์จรวด Aeon R ที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมด 7 เครื่อง โดยแต่ละเครื่องสามารถสร้างแรงขับเคลื่อนได้ทั้งหมด 302,000 lb ในขณะที่ส่วนของ Upper Stage จะทำการติดตั้งเครื่องยนต์ Aeon Vac ที่สร้างเทคโนโลยี 3D Printing ไว้หนึ่งเครื่อง ทางบริษัทยืนยันว่าตัวจรวด, เครื่องยนต์, first และ second stages, และ Fairing ที่ยาว 5 เมตร สามารถนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งได้ทั้งหมด
ทาง Relativity Space อธิบายว่า Terran R ถือเป็นจรวดเครื่องแรกของโลก ที่สร้างด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมด ตัวจรวดสร้างขึ้นโดยการผสมผสานระหว่าง AI และ Autonomous Robots เพื่อสร้างโครงสร้างและตัวเครื่องยนต์ขึ้นมา เทคโนโลยี 3D Printing ช่วยให้ทางบริษัทใช้ชิ้นส่วนน้อยลงมาก และสามารถสร้างจรวดให้เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วันเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถสร้างรูปทรงของตัวจรวดตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งการผลิตแบบเดิมไม่สามารถทำหรือสร้างขึ้นมาได้
Terran R ถือเป็นจรวดลูกที่ 2 ของ Relativity Space ที่สร้างออกมาได้เสถียรตามรอย Terran 1 ซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่ามาก โดยจะเปลี่ยนมาทำด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทั้งหมดเช่นกัน พร้อมกับจะมีการเปิดตัวภายในปีนี้ โดยแม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่า Terran R มากถึง 20 เท่า ทางบริษัทได้ทำสัญญา 9 ฉบับกับลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อใช้ Terran 1 บรรทุกสิ่งต่าง ๆ สู่อวกาศ
แหล่งที่มา newatlas.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67