TNN ยารักษามะเร็ง "เวิร์ค หรือ ไม่เวิร์ค" ทราบผลได้อย่างรวดเร็วใน 24 ชั่วโมงด้วยผลตรวจเลือด

TNN

Tech

ยารักษามะเร็ง "เวิร์ค หรือ ไม่เวิร์ค" ทราบผลได้อย่างรวดเร็วใน 24 ชั่วโมงด้วยผลตรวจเลือด

ยารักษามะเร็ง เวิร์ค หรือ ไม่เวิร์ค ทราบผลได้อย่างรวดเร็วใน 24 ชั่วโมงด้วยผลตรวจเลือด

นักวิทยาศาสตร์จากสิงคโปร์พัฒนาชุดตรวจเลือดผู้ป่วยมะเร็ง ที่สามารถบอกได้ว่าหลังรับยารักษาไปแล้วใน 24 ชั่วโมง มะเร็งตอบสนองต่อยารักษานั้นหรือไม่

เมื่อต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยและแพทย์ต้องการทราบมากที่สุดหลังการรักษา คือการรักษานั้นมีประสิทธิดีพอหรือไม่ เพราะหากการรักษามีประสิทธิภาพที่ดีพอก็จะได้ดำเนินการรักษาต่อไป แต่ถ้าหากผลลัพธ์ยังไม่น่าพึงพอใจ แพทย์จะได้พิจารณาหาแนวทางการรักษาใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพดีกว่า



แนวคิดนี้ทำให้นักวิทยาศสาตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) พัฒนากระบวนการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการรักษามะเร็งด้วยเลือด ที่สามารถประเมินได้ว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีนั้น ๆ มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับผู้ป่วยรายดังกล่าวแล้วหรือยัง


นักวิทยาศาสตร์อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า เอ็กโซสโคป (Small-molecule chemical occupancy and protein expression (ExoSCOPE)) ซึ่งเป็นการตรวจหาชิ้นส่วนล่องลอย (Extracellular vesicles) ภายในเลือดของผู้ป่วย เพราะหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยารักษามะเร็งแล้ว และเกิดการตอบสนองต่อยาดังกล่าว เซลล์มะเร็งจะหลั่งชิ้นส่วนเหล่านี้ออกมาและภายในชิ้นส่วนจะมียารักษามะเร็งอยู่ด้วย

ยารักษามะเร็ง เวิร์ค หรือ ไม่เวิร์ค ทราบผลได้อย่างรวดเร็วใน 24 ชั่วโมงด้วยผลตรวจเลือด ที่มาของภาพ https://tcr.amegroups.com/article/view/9309/html

 


อนึ่ง ยารักษามะเร็งชนิดพุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์มะเร็งที่เป็าเป้าหมายของยาได้สูงมาก เช่น มะเร็งปอด, มะเร็งตับ, มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น เมื่อเซลล์ตอบสนองต่อยาก็จะตรวจพบปริมาณยาที่สูงมากในเซลล์มะเร็งชนิดนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ชิ้นส่วนซึ่งหลั่งมาจากเซลล์มะเร็งจะมีตัวยารักษามะเร็งอยู่ด้วย และนี่คือหลักการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการประเมินการรักษา


ข้อดีของกระบวนการเอ็กโซสโคป คือสามารถตรวจประเมินได้ง่ายและทราบผลรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ในขณะที่การประเมินประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยาในปัจจุบัน จะเน้นการสังเกตขนาดของมะเร็งจากภาพถ่ายรังสี ซึ่งต้องใช้เวลากว่ามะเร็งจะเริ่มฝ่อและมีขนาดเล็กลง (ในกรณีที่ยาใช้ได้ผล) ทำให้การรักษาอาจเกิดความล่าช้าในกรณีที่เซลล์มะเร็งไม่ตอบสนองต่อยา และอาจทำให้มะเร็งลุกลามไประยะอื่นได้ด้วย

การทดลองเปรียบเทียบการใช้เอ็กโซสโคปกับการใช้ภาพถ่ายรังสีแบบเดิม ปรากฏว่าผลตรวจเลือดด้วยผ่านกระบวนการเอ็กโซสโคปให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำถึง 95% ในการตรวจพบว่ามะเร็งปอดของผู้ป่วยตอบสนองต่อยารักษามะเร็ง


นักวิทยาศาสตร์เคลมว่าวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบผลลัพธ์หลังการให้ยาในเวลาอันรวดเร็ว หากเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อยาจะได้ให้ยาต่อจนครบกำหนด แต่ถ้ามะเร็งไม่เกิดการตอบสนองแพทย์จะได้เลือกวิธีการรักษาแบบอื่น ๆ ที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการใช้ยา อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่จะได้รับการรักษาที่ดีกว่าในเวลาอันรวดเร็ว หวังว่าในอนาคตจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้มีความแม่นยำใกล้เคียงกับวิธีมาตรฐาน เพื่อนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เริ่มตรวจพบมากขึ้นในทุก ๆ วัน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Science Alert


ข่าวแนะนำ