TNN นักวิทย์ฯพัฒนาเกม หวังเตือนความเสี่ยงระบบ ‘AI Emotion Recognition’

TNN

Tech

นักวิทย์ฯพัฒนาเกม หวังเตือนความเสี่ยงระบบ ‘AI Emotion Recognition’

นักวิทย์ฯพัฒนาเกม หวังเตือนความเสี่ยงระบบ ‘AI Emotion Recognition’

เทคโนโลยีตัวนี้กลายเป็นที่ถกเถียงกันทั่วโลก และได้ถูกนำไปใช้กับหลากหลายองค์กรจนก่อให้เกิดคำถามทางจริยธรรมมากมายตามมา

ใครที่ชอบเล่นหน้าเล่นตา ทำสีหน้าตลก ๆ หน้ากล้องอาจจะชอบสิ่งที่นักวิจัยกำลังจะนำเสนอ เพราะพวกเขาได้สร้าวเว็บไซต์ที่ให้โอกาสคุณได้ทำสิ่งที่ว่ามาโดยหวังว่าจะเข้าใจถึงความเสี่ยงของการใช้ระบบ 'AI Emotion Recognition' กันมากขึ้น

นักวิทย์ฯพัฒนาเกม หวังเตือนความเสี่ยงระบบ ‘AI Emotion Recognition’

นักวิทยาศาสตร์จาก University of Cambridge และ University College London ในสหราชอาณาจักรได้ร่วมกันสร้างเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการจดจำอารมณ์ หรือ 'AI Emotion Recognition' รวมทั้งต้องการชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยเว็บไซต์ของพวกเขาเรียกว่า “Emojify” สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจว่า คอมพิวเตอร์ใช้สแกนใบหน้าของผู้คนเพื่อเดาอารมณ์ได้อย่างไร ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “การจดจำอารมณ์แบบปัญญาประดิษฐ์” หรือ artificial intelligence emotion recognition 

นักวิทย์ฯพัฒนาเกม หวังเตือนความเสี่ยงระบบ ‘AI Emotion Recognition’

การทำงานของเว็บไซต์เป็นลักษณะของเกมที่ขอให้ผู้ใช้งานแสดงสีหน้าแบบต่าง ๆ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เดาอารมณ์ของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 6 อารมณ์ด้วยกัน ได้แก่ ความสุข ความเศร้า ความกลัว ความประหลาดใจ ความขยะแขยง และความโกรธ นอกจากนี้ยังมีคำถาม 2-3 ข้อที่ให้ผู้ใช้งานตอบเพิ่มเติม เช่นเคยใช้เทคโนโลยีประเภทนี้มาก่อนหรือไม่ คิดเห็นอย่างไรกับระบบนี้ และแน่นอนว่าไม่มีการบันทึกรูปภาพหรือข้อมูลเหล่านี้แต่อย่างใด แต่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการสนทนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวนี้เท่านั้น


ซึ่งนักวิจัยต้องการชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบัน เทคโนโลยีประเภทนี้มีใช้งานอยู่แล้วในบางพื้นที่ของโลก เช่น มีการนำไปใช้ในระหว่างการสัมภาษณ์งานเพื่อตรวจจับความกระตือรือร้นของผู้สมัครงาน หรือนำไปใช้ในระหว่างการพิจารณาคดีในศาลเพื่อตัดสินความบริสุทธิ์หรือความผิดของใครบางคน โดย Dr. Alexa Hagerty หัวหน้าโครงการนี้กล่าวว่า เธอต้องการให้ผู้ใช้งานได้ลองสัมผัสกับเทคโนโลยีนี้ด้วยตนเอง และได้รับรู้ว่าเทคโนโลยีนี้มีอำนาจมากเพียงใด แต่ในขณะเดียวกันก็อยากให้เห็นด้วยว่ามันก็สามารถเกิดความผิดพลาดได้เช่นกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก

interestingengineering

ข่าวแนะนำ