TNN Farfarout วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

TNN

Tech

Farfarout วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

Farfarout วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

นักดาราศาสตร์เผย "Farfarout" คือวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะ

นักดาราศาสตร์เผย "Farfarout" คือวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะ โดยเมื่อ 2 ปีที่แล้ว วัตถุที่ชื่อว่า Farout เป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดของระบบสุริยะ ปัจจุบัน Farfarout เป็นผู้โค่นแชมป์ดังกล่าว โดยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 132AU หรือประมาณ 12.3 พันล้านไมล์ และวงโคจรที่ห่างที่สุด จะทำให้มันไกลมากถึง 175AU ใช้เวลาประมาณ 1,000 ปีในการโคจรให้ครบรอบ


  • ดาวพลูโตอยู่ห่างจากพระอาทิตย์ 34AU
  • Farout อยู่ห่างออกไปเพียง 120AU


Farfarout วัตถุที่อยู่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ


Farfarout ตรวจพบครั้งแรกในปี 2018 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์ Subaru ที่อยู่ใน Mauna Kea ในฮาวาย และใช้กล้องโทรทรรศน์ Gemini และ Magellan เพื่อตรวจสอบวงโคจรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามันอยู่ในระดับต่ำสุดของดาวเคราะห์แคระที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 249 ไมล์และมีปฏิสัมพันธ์กับดาวเนปจูน วัตถุอาจถูกโยนเข้าไปในระบบสุริยะชั้นนอกหลังจากที่ลอยอยู่ใกล้ดาวเนปจูนมากเกินไปในอดีต และคาดว่าจะตอบสนองต่อดาวเนปจูนอีกครั้งเนื่องจากวงโคจรที่ตัดกัน


สำหรับ Farout  ที่ได้ชื่อว่าเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดก่อนหน้า เป็นวัตถุที่ถูกพบเห็นในปี 2018 มีชื่อเต็ม ๆ ว่า VG18 "Farout," อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 120AU หรือประมาณ 11.15 พันล้านไมล์ ซึ่งห่างจากดาวพลูโตที่อยู่ห่าง 34AU คิดเป็น 3 เท่าครึ่ง และไกลกว่าโลก 100 เท่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 311 ไมล์ คาดว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ มีโทนสีชมพู เดาว่าดาวทั้งดวงเต็มไปด้วยน้ำแข็ง


แหล่งที่มา engadget.com

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ