TNN เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

TNN

Tech

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

เทปแปะแผลดีไซน์จากโอริกามินี้จะช่วยให้หุ่นยนต์ผ่าตัดทำแผลได้ง่ายขึ้น และอาจจะพัฒนาไปใช้กับการแพทย์อื่น ๆ อีกด้วย

ใครจะรู้ว่าไม่แน่วันหนึ่ง ‘หุ่นยนต์ผ่าตัด’ อาจจะมีวิธีง่าย ๆ ในการผ่าตัดภายในให้มีแผลและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งล่าสุดความหวังนี้อาจจะเป็นจริงแล้วด้วยฝีมือของนักวิจัยจาก MIT ที่ได้พัฒนาเทปแปะแผลแบบย่อยสลายได้ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพับกระดาษ 'โอริกามิ'

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

เทปแปะแผลตัวนี้มีความพิเศษตรงนี้มันสามารถพับรอบ ๆ เครื่องมือผ่าตัดได้ ทำให้สามารถใช้แปะแผลการผ่าตัดที่เกิดขึ้นภายในได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบกับการผ่าตัดแต่อย่างใด ซึ่งก่อนหน้านี้ เทปแปะแบบย่อยสลายได้ หรือ “bioadhesive patches” นั้นมีใช้กันอยู่แล้วในการผ่าตัดประเภทต่าง ๆ แต่มันอาจจะทำให้การปิดแผลนั้นเกิดรอยตำหนิหรืออาจจะสร้างความเสียหายอื่น ๆ ได้ เช่น การอักเสบ และแผลเป็น

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

ดังนั้นทีมวิจัยจาก MIT จึงได้ออกแบบและพัฒนาเทปแปะแผลที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ โดยใช้เทปแปะแผลแบบสามชั้น ประกอบด้วยชั้นกาวไฮโดรเจล, ชั้นซิลิโคนเคลือบน้ำมันเพื่อป้องกันการเกาะติดในจุดที่ไม่ต้องการ และชั้นนอกแบบอีลาสโตเมอร์ที่มีลักษณะของ zwitterionic (หรือสวิทเทอร์ไอออน หมายถึงโมเลกุลที่มีสองขั้ว มีทั้งประจุลบและบวกอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน จึงเป็นโมเลกุลที่เป็นกลาง) เพื่อช่วยปกป้องเทปแปะจากแบคทีเรียต่าง ๆ ได้

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

และผลที่ได้ก็คือตัวเทปหรือแผ่นแปะที่สามารถห่อหุ้มไปกับเครื่องมือของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้เป็นอย่างดี และยังสามารถยึดติดกับเนื้อเยื่อที่ต้องการแปะได้อย่างแน่นหนาแม้ว่าจะแช่อยู่ในของเหลวเป็นเวลานาน ที่สำคัญนักวิจัยยังได้ทดสอบความสามารถในการป้องกันการปนเปื้อนของเทปแปะนี้และพบว่ามีคุณสมบัติป้องกันการปนเปื้อนได้แม้จะผ่านไปหนึ่งเดือนแล้ว และการใช้งานก็ง่ายเพียงแค่อาศัยแรงกดเบา ๆ จากหุ่นยนต์เพื่อใช้งานเทปแปะแผลชิ้นนี้

เทปแปะแผลผ่าตัดแบบใหม่ แรงบันดาลใจจาก ‘โอริกามิ’

อย่างไรก็ตามกว่าจะได้ใช้งานจริง ๆ ก็อาจจะต้องรอกันอีกพักใหญ่เพื่อให้ทีมวิจัยสามารถพัฒนาและทดลองใช้ให้แน่ใจเสียก่อน แต่ก็นับว่าเป็นการพัฒนาที่น่าจับตามอง เพราะทีมวิจัยเองก็หวังว่าจะได้ทำงานนี้ร่วมกับทีมพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับผ่าตัดโดยเฉพาะ เพื่อที่พวกเขาจะได้หารือและเสนอแนะวิธีการใหม่ ๆ ที่อาจจะเปลี่ยนการแพทย์แบบเดิม ๆ หรืออาจจะช่วยให้โอกาสการฟื้นตัวจากการผ่าตัดทำได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวแนะนำ