TNN "ดาวอังคาร" ดาวเคราะห์ต้องคำสาป ภารกิจสุดยากของมนุษยชาติ (มีคลิป)

TNN

Tech

"ดาวอังคาร" ดาวเคราะห์ต้องคำสาป ภารกิจสุดยากของมนุษยชาติ (มีคลิป)

ดาวอังคาร ดาวเคราะห์ต้องคำสาป ภารกิจสุดยากของมนุษยชาติ (มีคลิป)

เพราะเหตุใดการส่งยานไปสำรวจดาวอังคารจึงใช้เวลานาน หาคำตอบได้ที่นี่



ภารกิจสำรวจดาวอังคารไม่ใช่เรื่องง่าย เรียกได้ว่าปราบเซียนเลยทีเดียว มนุษย์พยายามสำรวจดาวอังคารมาหลายสิบปีแล้ว เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ที่ยาน ‘ไวกิ้ง 1’ ของนาซ่า สหรัฐฯ ลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ โดยไม่มีความเสียหายใดๆ หลังจากนั้นนานถึง 13 ปี ถึงจะมีความพยายามสำรวจดาวเคราะห์สีแดงนี้อีกครั้ง 


ราวกับว่าดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ต้องคำสาปที่ยากจะไปถึง


ต่อมาในทศวรรษที่ 20 ดาวอังคารกลายเป็นดาวเคราะห์เนื้อหอมที่หลายประเทศพยายายามจะส่งยานขึ้นไปสำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่ล้มเหลว ที่ทำสำเร็จก็คือสหรัฐและอินเดีย ถ้าวัดจากการเข้าวงโคจรและลงจอดสำเร็จ หรือทำการสำรวจได้ 


ถึงแม้ดาวอังคารจะเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ แต่กว่าที่โลกกับดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ด้านเดียวกันของดวงอาทิตย์ ต้องใช้เวลาประมาณ 26 เดือน และต้องอาศัยเวลานานถึง 15-18 ปี จึงจะเกิดปรากฏการณ์โลกกับดาวอังคารโคจรมาใกล้กันมากที่สุด



แล้วทำไมมุนษย์ถึงอยากไปดาวอังคารกันนัก ? 


นักวิทยาศาตร์ตั้งข้อสันนิษฐานว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอังคาร เพราะดาวอังคารมีลักษณะที่คล้ายโลก มีร่องรอยของน้ำ หลุมอุกกาบาตเช่นเดียวกับดวงจันทร์ และยังพบปากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก 


นอกจากนี้เวลาและฤดูกาลก็ยังคล้ายกับโลก โดยดาวอังคารใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง 40 นาที ใกล้เคียงกับโลกเลยไหมล่ะ?!


ส่วนของอุณภูมิของดาวอังคารก็อยู่ในระดับที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ อุณภูมิสูงสุดที่ 30 องศาเซลเซียส ต่ำสุดที่ -140 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ -63 องศาเซลเซียส 


ซึ่งถือว่าดีกว่าเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ เช่น ดาวศุกร์ มีอุณภูมิสูงจัดถึง 400 องศาเซลเซียส 


ดังนั้น ดาวอังคารจึงเป็นดาวเคราะห์ที่เหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตมากกว่าดาวอื่นๆ 


อย่างไรก็ตาม ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลกมาก ต้องใช้เวลาเดินทางนาน 3-6 เดือนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นประเทศที่ต้องการพิชิตภารกิตสำรวจดาวอังคารจะต้องมีความพร้อมที่สุดทั้งในด้านทรัพยากร เงินทุน และบุคลากร 


ในปี 2021 นี้ ภารกิจสำรวจดาวอังคารน่าตื่นตาตื่นใจมากขึ้น เมื่อประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และจีน พร้อมใจกันส่งยานอวกาศ 3 ลำ จาก 3 ประเทศ เพื่อสำรวจวงโคจรรอบดาวอังคาร ตั้งแต่เดือน ก.ค. ปี 2020  หวังสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ๆ ในการปักธงบนดาวอังคาร


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ชื่อว่าเป็นชาติอาหรับชาติแรกที่ส่งยานอเพื่อศึกษาสภาพอากาศของดาวอังคาร โดยใช้ชื่อยานว่า “Hope”  


ในขณะที่จีนได้ส่งยานชื่อ “เทียนเหวิน-1” มีความหมายว่า “คำถามแห่งสรวงสวรรค์” ซึ่งภารกิจนี้ก็ครั้งแรกของจีนในการสำรวจดาวอังคาร หลังจากเคยร่วมมือกับรัสเซีย เมื่อปีพ.ศ. 2554 แต่การปล่อยยานก็ล้มเหลว เป้าหมายต่อไปของจีนก็คือการส่งยานโรเวอร์ 6 ล้อ ที่สามารถวิ่งบนผิวดาวอังคารได้


ส่วนพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ยอมน้อยหน้าใครที่ไหน NASA ประกาศภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร โดยส่งยานโรเวอร์กึ่งหุ่นยนต์ที่มีขนาดเท่ารถเก๋ง ชื่อว่า Perseverance (‘เพอร์เซเวียแรนซ์) คำนี้หมายถึงความเพียรพยายาม สำหรับยานโรเวอร์นี้จะมาทำหน้าที่แทน Curiosity หุ่นยนต์ตัวเก่า เมื่อยานตัวใหม่ลงจอดปุ๊ป ก็จะปล่อยเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้สำหรับการบินในสภาพอากาศเบาบางบนดาวอังคารได้ด้วย 


เมื่อความทะเยอทะยานของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด ภารกิจสำรวจดาวอังคารก็ยังดำเนินต่อไป  แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการสำรวจดินแดนแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องไม่ใช้แค่การประกาศศักดาและปักธงชาติของตัวเอง แต่คือการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศที่จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในอนาคต


หายสังสัยกันแล้วใช่มั้ยคะว่าทำไมภารกิจสำรวจดาวอังคารถึงใช้เวลานานและยากมากๆ แต่มนุษย์ก็ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เลย ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นคนไปเหยียบดาวอังคารได้จริงๆ สักที



ข่าวแนะนำ