TNN มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศลดการเซนเซอร์เนื้อหาบน FacebookIG และ Threads แลกกับ Free Speech

TNN

Tech

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศลดการเซนเซอร์เนื้อหาบน FacebookIG และ Threads แลกกับ Free Speech

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศลดการเซนเซอร์เนื้อหาบน FacebookIG และ Threads แลกกับ Free Speech

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศลดการเซนเซอร์เนื้อหาบน FacebookIG และ Threads แลกกับ Free Speech

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กประกาศลดการเซนเซอร์เนื้อหาบน Facebook, IG และ Threads แลกกับ Free Speech

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ประกาศปรับนโยบายครั้งใหญ่ โดยเน้นคืนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นพร้อมลดข้อผิดพลาดในระบบควบคุมเนื้อหา การเปลี่ยนแปลงนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม รวมถึงผลกระทบของการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาในปี 2024 ที่ผ่านมา

🔵 ยกเลิกโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking)

หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การยกเลิกโปรแกรมตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking) ที่ร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก ซึ่งจะถูกแทนที่ด้วยระบบหมายเหตุของชุมชน (Community Notes) หรือการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานในชุมชนออนไลน์ได้ร่วมกันตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลเนื้อหา คล้ายกับระบบของแพลตฟอร์ม X หรือชื่อเดิม Twitter โดยระบบใหม่นี้จะเริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา และมุ่งหวังให้ชุมชนมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการข้อมูลที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์ม

นอกจากนี้บริษัท Meta ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Facebook ยังปรับปรุงนโยบายการกลั่นกรองเนื้อหาทางการเมือง โดยจะเพิ่มการมองเห็นของเนื้อหาการเมืองบน Facebook, Instagram และ Threads หลังจากก่อนหน้านี้ลดปริมาณเนื้อหาเหล่านี้ลงเพื่อลดความเครียดของผู้ใช้งาน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กกล่าวเพิ่มเติมว่า "เรากำลังคืนเนื้อหาทางการเมืองให้กลับมาอยู่ในฟีดของผู้ใช้ โดยพยายามทำให้ชุมชนมีบรรยากาศที่มิตรและเป็นบวก"

🔵 ลดความซับซ้อนของระบบตรวจสอบ

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ยอมรับว่าระบบควบคุมเนื้อหาที่บริษัทสร้างขึ้นนั้นมีข้อผิดพลาดและซับซ้อนเกินไป เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลดความผิดพลาดในการเซนเซอร์ โดยเฉพาะในกรณีที่เนื้อหาที่ไม่ละเมิดนโยบาย แต่ถูกลบออกระบบโดยไม่ได้ตั้งใจ

"แม้ว่าข้อผิดพลาดจะเกิดขึ้นเพียง 1% แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อผู้ใช้นับล้าน" เขากล่าวเพิ่มเติม พร้อมย้ำว่าบริษัทจะยังคงเข้มงวดในการจัดการเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การก่อการร้าย และการแสวงหาประโยชน์จากเด็ก

บริษัท Meta เตรียมยุติระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งดำเนินการร่วมกับองค์กรภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก International Fact-Checking Network และ European Fact-Checking Standards Network โดยองค์กรเหล่านี้เคยทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาในหลายภาษา รวมถึงโพสต์และโฆษณาต่าง ๆ 

อย่างไรก็ตาม ข่าวประชาสัมพันธ์ของบริษัท Meta ระบุเพิ่มเติมเอาไว้ว่า หากมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพบว่าเนื้อหาเป็นเท็จ หรือเนื้อหาเป็นแบบตลกเสียดสีไม่ตรงตามความเป็นจริง ๆ ระบบจะแสดงแถบข้อมูลอธิบายเพิ่มเติม พร้อมแจ้งไปยังผู้สร้างเนื้อหาให้ปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้อง 

หากยังพบว่าไม่ปฏิบัติตามทางบริษัท Meta จะดำเนินการลบ Page, Group หรือโปรไฟล์ ออกจากการแนะนำให้ผู้ใช้งานทั่วไป การลดการแพร่กระจายเนื้อหา ลบความสามารถในการสร้างรายได้และการโฆษณา 

🔵 สั่งย้ายทีมงานและปรับปรุงระบบ

บริษัท Meta เตรียมย้ายทีมงานด้านความปลอดภัย และการตรวจสอบเนื้อหาจากรัฐแคลิฟอร์เนียไปยังรัฐเท็กซัส และปรับปรุงระบบแนะนำเนื้อหาให้มุ่งเน้นไปที่ "การละเมิดที่ร้ายแรง" มากขึ้น โดยอาศัยการรายงานจากผู้ใช้สำหรับการละเมิดอื่น ๆ 

โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กกล่าวว่า "เราจะปรับแต่งตัวกรองเนื้อหาเพื่อให้ต้องมั่นใจก่อนลบเนื้อหา นี่อาจทำให้เราตรวจจับบางสิ่งได้น้อยลง แต่จะช่วยลดจำนวนโพสต์หรือบัญชีที่ถูกลบโดยไม่ตั้งใจ" 

🔵 กฎระเบียบที่ผ่านมาเพราะแรงกดดันจากรัฐบาล

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กวิพากษ์วิจารณ์ "รัฐบาลและสื่อกระแสหลัก" ที่เขาอ้างว่า ผลักดันให้มีการเซนเซอร์เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยืนยันว่าบริษัท Meta ยังคงทำงานร่วมกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมเสรีภาพในการพูดให้กับผู้คนทั่วโลก

"รัฐบาลบางประเทศยังคงปราบปรามการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ และเราจะร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เพื่อกดดันพวกเขาให้ยอมรับเสรีภาพนี้" มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กกล่าวเพิ่มเติม

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนถึงความพยายามของ Meta ในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานและแรงกดดันทางการเมือง ขณะเดียวกันยังคงรักษามาตรฐานความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มของตน

🔵 การปรับตัวหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Meta

การปรับนโยบายใหม่ของบริษัท Meta สิ่งที่นักการตลาด Marketing และนักสร้างเนื้อหา Content Creator ต้องปรับทั้งในส่วนของเนื้อหา และกลยุทธ์การตลาด เช่น การปรับเนื้อหาให้เข้ากับระบบ "หมายเหตุของชุมชน" (Community Notes) โดยระบบใหม่จะเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการข้อมูล 

ดังนั้น นักการตลาดควรสร้างเนื้อหาที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลที่อาจถูกตีความผิดหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การเล่าเรื่อง (Storytelling) และแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในเนื้อหา เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและลดโอกาสที่เนื้อหาจะถูกตั้งข้อสังเกตโดยชุมชน

รวมไปถึงลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และนำเสนอเนื้อหาที่มีข้อผิดพลาด เช่น การใช้ภาษาไม่เหมาะสม หรือการกล่าวอ้างโดยไม่มีข้อมูลสนับสนุน ซึ่งหากนโยบายใหม่เน้นไปที่ "การละเมิดที่ร้ายแรง" การนำเสนอเนื้อหาที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์จะมีโอกาสเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น

ที่มาของข้อมูล NBCNews, Transparency.Meta.com
ที่มาของรูปภาพ https://www.facebook.com/zuck/videos/1525382954801931 

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง