TNN นักวิจัยใช้แผ่นกระจกเงาช่วยต้นกล้าในพื้นป่าเติบโตได้ดีขึ้น 175 เปอร์เซ็นต์

TNN

Tech

นักวิจัยใช้แผ่นกระจกเงาช่วยต้นกล้าในพื้นป่าเติบโตได้ดีขึ้น 175 เปอร์เซ็นต์

นักวิจัยใช้แผ่นกระจกเงาช่วยต้นกล้าในพื้นป่าเติบโตได้ดีขึ้น 175 เปอร์เซ็นต์

นักวิจัยใช้แผ่นกระจกเงาช่วยต้นกล้าในพื้นป่า พบต้นกล้าที่ได้รับการเสริมด้วยกระจกยังเติบโตได้สูงกว่าต้นไม้ในกลุ่มเดียวกันถึง 175% และมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าถึง 161%

คนรักต้นไม้ต่างทราบกันดีว่าแสงแดดนั้นมีความสำคัญต่อการปลูกต้นไม้ ยิ่งเพิ่มการกระจายแสงให้มากขึ้นด้วยแผ่นกระจกโอกาสที่ต้นไม้จะเจริญเติบโตยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นักวิจัยโทมัส มาร์เลอร์ (Thomas Marler) ได้ใช้แนวคิดดังกล่าวไปใช้พัฒนาวิธีการทำให้ต้นกล้าไม้ใกล้สูญพันธุ์ที่เจริญเติบโตอย่างเชื่องช้าใต้เงาต้นไม้ใหญ่ ให้สามารถเจริญเติบโตได้เร็วมากขึ้น


โดยนำแผ่นกระจกไปช่วยสะท้อนแสงให้กับต้นไม้สายพันธุ์ซีรีแอนเธส เนลสันอาย (Serianthes nelsonii) ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่พบได้เฉพาะบนเกาะกวมและโรตา บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น และเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่หายากที่สุดในโลก โดยปัจจุบันพบว่ามีจำนวนเหลือต้นไม้ที่โตเต็มวัยเพียงต้นเดียวบนเกาะกวม ในขณะที่เกาะโรตามีต้นไม้เพียง 121 ต้นเท่านั้น ความพยายามในการฟื้นฟูจำนวนต้นไม้สายพันธุ์ซีรีแอนเธส เนลสันอาย (Serianthes nelsonii) จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก


โครงสร้างของแผ่นกระจกมีลักษณะเป็นกระจก 6 เหลี่ยม ถูกวางเชื่อมต่อกันจำนวน 6 ชิ้น โดยเว้นตรงกลางของแผ่นกระจกทั้งหมดเอาไว้ให้ต้นไม้ได้เจริญเติบโต วิธีการดังกล่าวทำให้แสงอาทิตย์สามารถสะท้อนไปยังต้นไม้ในทุกทิศทาง โดยไม่จำเป็นต้องรอตำแหน่งของดวงอาทิตย์ทำมุมองศาที่พอดีกับกระจกและต้นไม้ การทดสอบมีขึ้นบริเวณเกาะกวม และพื้นที่ป่าที่ร่มรื่นในประเทศฟิลิปปินส์


ก่อนหน้านี้การสะท้อนแสงแดดเพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตรวดเร็วขึ้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ตัวอย่างเช่น ในแปลงปลูกผักเกษตรกรจำนวนมากสังเกตพบว่าพลาสติกคลุมดินที่ใช้ป้องกันวัชพืช หากมีคุณสมบัติสะท้อนแสงที่ดีจะช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้นตามไปด้วย


การศึกษาวิจัยพบว่าในบางกรณี กระจกที่ไม่ถูกปิดกั้นแสงที่ถูกวางไว้รอบต้นกล้า สามารถสะท้อนแสงแดดที่ส่องเข้ามาได้มากกว่า 70% ขึ้นไปที่ต้นไม้ นอกจากนี้ ต้นไม้ที่ได้รับการเสริมแสงแดดด้วยกระจกยังเติบโตได้สูงกว่าต้นไม้ในกลุ่มเดียวกันถึง 175% และมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่าถึง 161% นักวิจัยได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวลงบนวารสารอักโรโนมี (Agronomy) ฉบับวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา


ที่มาของข้อมูล Newatlas

ที่มาของรูปภาพ Thomas Marler

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง