หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) นวัตกรรมเพื่อการโต้ตอบกับมนุษย์อย่างปลอดภัย
หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) นวัตกรรมเพื่อการโต้ตอบกับมนุษย์อย่างปลอดภัย ขยับหลบหลีกได้ เพื่อไม่ชนเป็นอันตรายกับมนุษย์
แผนกวิจัยบริษัท เนเวอร์ แลป (NEVER LEB) อัปเดตความสามารถของหุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ หุ่นยนต์ตัวนี้เปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 และได้รับการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างของหุ่นยนต์มีลักษณะคล้ายมนุษย์ท่อนบน ประกอบด้วย ลำตัว แขน 2 ข้าง และศีรษะ การเคลื่อนที่ใช้กลไกการถ่ายเทแรงซึ่งเป็นนวัตกรรมที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อความแข็งแกร่งของโครงสร้างหุ่นยนต์และความปลอดภัยในการใช้งาน โครงสร้างสามารถพับเก็บและเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้นตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
ผิวด้านนอกสีขาวและดำสีดำอ่อนของหุ่นยนต์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกับเซนเซอร์ได้อย่างมีสิทธิภาพ ช่วยให้ลดความซ้ำซ้อนของสีสันและเซนเซอร์มองเห็นวัตถุได้อื่น ๆ ได้ง่ายมากขึ้น
สิ่งที่หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) ในเวอร์ชันปี 2024 แตกต่างจากเวอร์ชันปี 2017 อยู่ที่การติดตั้งเซนเซอร์เอาไว้บริเวณศีรษะ ลำตัว และเอว เพื่อการเคลื่อนไหวได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการใช้สายเคเบิลช่วยในการเคลื่อนไหว ซึ่งแตกต่างจากเวอร์ชันปี 2017 ที่ไม่มีศีรษะและเซนเซอร์จับความเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของหุ่นยนต์
จุดเด่นของหุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX)ในเวอร์ชันปี 2024 อยู่ที่การเคลื่อนไหวที่มีความยืดหยุ่นตัวสูง หรือแบบไดนามิก โดยใช้ข้อต่อที่หมุนได้รอบทิศทาง แตกต่างจากข้อต่อกระดูกในร่างกายของมนุษย์ที่มีข้อจำกัดในการหมุน ความสามารถดังกล่าวทำให้หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) สามารถหยิบจับสิ่งของที่มีความละเอียดอ่อน เช่น แก้วน้ำขนาดเล็ก และการปอกผลไม้
นอกจากนี้เซนเซอร์ที่ติดตั้งในตัวหุ่นยนต์ยังช่วยป้องกันการเคลื่อนไหวที่อาจกระทบหรือทำอันตรายกับมนุษย์ที่ทำงานอยู่ใกล้กับหุ่นยนต์ได้ เช่น กรณีที่มนุษย์ขยับตัวเองเข้าใกล้หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ก็จะขยับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ให้กระทบหรือชนเข้ากับมนุษย์ นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมจากระยะไกล ยังช่วยให้หุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ทำงานในสถานที่อันตรายได้อีกด้วย เช่น พื้นที่ปนเปื้อนสารเคมี หรือในโรงงานที่มีสภาพแวดล้อมอันตราย
สำหรับแนวทางการนำหุ่นยนต์แอมบิเด็กซ์ (AMBIDEX) ไปใช้งานในอนาคตทำได้หลายรูปแบบ เช่น หุ่นยนต์ประกอบชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ทำงานบ้าน หุ่นยนต์ทำงานอาหาร และหุ่นยนต์บริการข้อมูลในพิพิธภัณฑ์
ที่มาของข้อมูล
ข่าวแนะนำ