TNN ทำความรู้จักออโรรา (Aurora) แสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอะไร ?

TNN

Tech

ทำความรู้จักออโรรา (Aurora) แสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอะไร ?

ทำความรู้จักออโรรา (Aurora) แสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอะไร ?

Infographic ที่จะพาไปทำความรู้จักออโรรา (Aurora) แสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอะไร ? ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มองเห็นได้ทั้งบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้

ออโรรา (Aurora) หรือ แสงเหนือ เกิดขึ้นจากการชนกันของอนุภาคจากดวงอาทิตย์ เช่น ลมสุริยะ กับโมเลกุลบนชั้นบรรยากาศของโลก พบเห็นได้ทั้งบริเวณใกล้เคียงกับขั้นโลกเหนือและขั้วโลกใต้


บริเวณที่พบเห็นออโรรา เช่น ซีกโลกเหนือ บริเวณอลาสก้าของสหรัฐอเมริกา แคนาดา นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และรัสเซีย โอกาสในการเห็นออโรราจะดีที่สุดในช่วงกลางคืนที่ท้องฟ้ายามค่ำคืนมืดมิดและไม่มีมลภาวะทางแสง ยังขึ้นอยู่กับกิจกรรมของดวงอาทิตย์ด้วย


นอกจากพบเห็นออโรรา (Aurora) ที่ซีกโลกเหนือยังสามารถพบเห็นได้ทางซีกโลกใต้ โดยเรียกว่า แสงใต้ (Aurora australis) บริเวณประเทศอาร์เจนตินา ชิลี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย


สำหรับแสงเหนือและแสงใต้ มีลักษณะของสีสันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยความรนแรงของพายุสุริยะและชั้นบรรยากาศโลก โดยมีสีสันต่าง ๆ ดังนี้


1. แสงออโรราสีแดง เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุลออกซิเจนที่ระดับความสูงมาก ๆ ความเข้มข้นของออกซิเจนน้อย และพบได้เฉพาะกรณีพายุสุริยะความรุนแรงสูง ระดับความสูงมากกว่า 241.4 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก


2. แสงออโรราสีเขียว เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุลออกซิเจนที่ระดับความสูงต่ำลงมา ซึ่งมีความเข้มข้นของออกซิเจนสูงขึ้น ระดับความสูงไม่เกิน 241.4 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก


3. แสงออโรราสีม่วง เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุลไนโตรเจนเป็นไอออน และพบได้เฉพาะกรณีพายุสุริยะความรุนแรงสูง ระดับความสูงมากกว่า 96.6 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก


4. แสงออโรราสีฟ้า เกิดจากการแตกตัวของโมเลกุลไนโตรเจนเป็นไอออน มีโอกาสพบเห็นได้ยากกว่าแสงออโรราสีแดงและเขียว ระดับความสูงไม่เกิน 96.6 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก


รู้หรือไม่? : นอกจากโลกยังมีการพบแสงออโรราบริเวณดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ บริเวณขั้วเหนือและใต้คล้ายออโรราบนโลก โดยมีสาเหตุจากลมพายุสุริยะเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามขนาดของออโรราบนดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าบนโลกหลายเท่า สามารถบันทึกภาพและมองเห็นได้จากยานอวกาศ


ทำความรู้จักออโรรา (Aurora) แสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้นจากอะไร ?


ที่มาของข้อมูล Reuters, Wikipedia

ที่มาของรูปภาพ Pixabay, ESAHubble, NOAA, NASA

ข่าวฮิตติดแท็ก

ข่าวแนะนำ