TNN online เจาะลึกวิธีหาเรือดำน้ำไททันด้วยเสียง หลังทีมกู้ภัยได้ยินสัญญาณ SOS ทุก 30 นาที !

TNN ONLINE

Tech

เจาะลึกวิธีหาเรือดำน้ำไททันด้วยเสียง หลังทีมกู้ภัยได้ยินสัญญาณ SOS ทุก 30 นาที !

เจาะลึกวิธีหาเรือดำน้ำไททันด้วยเสียง หลังทีมกู้ภัยได้ยินสัญญาณ SOS ทุก 30 นาที !

เจาะลึกกระบวนการค้นหาเรือดำน้ำไททัน เรือนำเที่ยวซากอัปปางเรือไททานิก จากเครือข่ายของทีมกู้ภัยที่เป็นความหวังในการช่วยเหลือลูกเรือทั้ง 5 คน

เครื่องบินลาดตระเวนทางอากาศพี-ทรี (P-3) ของหน่วยยามฝั่งแคนาดา ได้พบสัญญาณ (Noise) ที่เป็นจังหวะทุก 30 นาที จากทุ่นโซนาร์ (Sonobouy) ที่ปล่อยจากเครื่องบินกลางอากาศ  ซึ่งอาจเป็นสัญญาณจากเรือดำน้ำไททัน หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ายานดำน้ำ (Submersible vessel) ที่ใช้พาทัวร์ซากอัปปางของเรือไททานิก และกำลังอยู่ระหว่างวิเคราะห์ร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาในตอนนี้


กระบวนการค้นหาเรือดำน้ำไททันด้วยโซนาร์

การค้นหาจะเป็นการสนธิกำลังจากหลายฝ่ายทั้งทางเรือและทางอากาศ ในการระดมกำลังปล่อยทุ่นโซนาร์เพื่อค้นหาเรือดำน้ำไททัน โดยโซนาร์ (Sonar) คือระบบระบุตำแหน่งของเรือหรือวัตถุใต้น้ำด้วยเสียงความถี่สูง (Ultrasonic) และเมื่อคลื่นเสียงกระทบกับเรือหรือวัตถุสัมผัส จะเกิดการสะท้อนกลับไปยังเครื่องรับสัญญาณ


การใช้ทุ่นโซนาร์นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ หนึ่ง เป็นแบบรับสัญญาณ (Passive Detection) ที่คอยรับฟังเสียงจากใต้ทะเล และสอง เป็นแบบส่งสัญญาณ (Active Detection) ที่จะส่งสัญญาณปิง (Ping beep) ออกไปในทะเลทุก 15 นาที โดยทั้ง 2 รูปแบบจะส่งข้อมูลไปยังหน่วยกู้ภัยเมื่อได้รับสัญญาณกลับมา ซึ่งหลังจากดำเนินการในช่วงวันอังคารที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา ก็ได้รับสัญญาณดังกล่าว


เสียงที่ทางหน่วยยามฝั่งของแคนาดาได้ได้ยินนั้นมีความถี่ทุกประมาณ 30 นาที ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการสร้างสัญญาณโดยมนุษย์หรือกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ประสบภัยใต้น้ำอยู่ในขณะนี้ โดยข้อมูลสัญญาณได้ถูกส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกองทัพเรือสหรัฐฯ และหน่วยงานเอกชน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้และระบุตำแหน่งต่อไป

เจาะลึกวิธีหาเรือดำน้ำไททันด้วยเสียง หลังทีมกู้ภัยได้ยินสัญญาณ SOS ทุก 30 นาที !

ความเป็นไปได้ในการกู้ภัยเรือดำน้ำไททัน

อย่างไรก็ตาม การค้นหาด้วยโซนาร์นั้นใช้ระยะเวลาวิเคราะห์ที่นาน แม้ว่าจะมีความหวัง แต่ก็อาจจะไม่ทันการ นอกจากนี้ การค้นหาด้วยยานดำน้ำแบบไร้คนขับหรืออาร์โอวี (Remote Operated Vehicle: ROV) ก็ยังไม่มีวี่แววพบเรือดำน้ำไททัน จากทัศนวิสัยที่ย่ำแย่ใต้น้ำ


ซ้ำร้าย สภาพอากาศบริเวณโดยรอบจุดค้นหายังไม่เอื้ออำนวยต่อภารกิจค้นหาอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้กดดันทีมกู้ภัยให้ต้องทำงานแข่งกับเวลา ในขณะที่คริส บราวน์ (Chris Brown) นักผจญภัยชาวอังกฤษซึ่งเป็นเพื่อนกับฮาดิช ฮาร์ดิง (Hadish Harding) หนึ่งในผู้ประสบภัยกล่าวว่า “ผมมั่นใจว่าพวกเขาจะต้องยืดเวลาออกซิเจนและลดการขยับตัว เพราะในนั้นมันทั้งหนาวและมืดมาก” ซึ่งอาจช่วยเพิ่มโอกาสในการเอาชีวิตรอดและได้รับการช่วยเหลือได้ทันเวลา


ที่มาข้อมูล BBC

ที่มารูปภาพ OceanGateBBC

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง