ชิลีตั้งเป้าจัดหาแหล่งลิเทียมสำรองขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
กาเบรียล บอริก (Gabriel Boric) ประธานาธิบดีของชิลี ตั้งเป้าจัดหาแหล่งลิเทียมสำรองขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
21 เมษายน ที่ผ่านมา กาเบรียล บอริก (Gabriel Boric) ประธานาธิบดีของชิลี ประกาศเตรียมแผนการทำให้ประเทศชิลีกลายเป็นแหล่งแร่ลิเทียมสำรองขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยออกมาตรการสนับสนุนและควบคุมการทำสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแร่ลิเทียม
รายละเอียดของแผนการดังกล่าวนอกจากส่งเสริมการจัดหาแร่ลิเทียมยังครอบคลุมการปกป้องทรัพยากรทางธรรมชาติและสิทธิของชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในบริเวณของแหล่งแร่ลิเทียมเพื่อให้เกิดการกระจายผลประโยชน์ทั้งในระดับชุมชนและประเทศ
ทะเลทรายในประเทศชิลี โบลิเวียและอาร์เจนตินา และพื้นที่ใกล้เคียงได้รับการขนานนามว่าเป็น “สามเหลี่ยมลิเทียม” เชื่อกันว่ามีปริมาณสำรองลิเทียมประมาณครึ่งหนึ่งของโลก มีปริมาณมากกว่าแหล่งแร่ลิเทียมอื่น ๆ ในต่างประเทศ
ปัจจุบันประเทศที่ส่งออกแร่ลิเทียมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศชิลีตามมาเป็นลำดับที่สอง รวมไปถึง ประเทศจีน อาร์เจนตินา บราซิลและสหรัฐอเมริกา ล้วนแต่มีกำลังการผลิตแร่ลิเทียมอันดับต้น ๆ ของโลก
สำหรับแร่ลิเทียม ปัจจุบันถูกนำไปใช้งานในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2021 ราคาของแร่ลิเทียมพุ่งสูงขึ้นกว่า 400% เนื่องจากความต้องการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแต่ละคันคาดว่ามีแร่ลิเทียมอยู่ที่ประมาณ 20 ปอนด์ หรือประมาณ 9 กิโลกรัม
อย่างไรก็ตาม ภายหลังการประกาศแผนการดังกล่าวของกาเบรียล บอริก (Gabriel Boric) ประธานาธิบดีของชิลี ทำให้หุ้นของบริษัทลิเทียมรายใหญ่ที่สุดในโลกสองราย ได้แก่ อัลเบมาร์ล (Albemarle) และ Sociedad Quimica y Minera de Chile (SQM) ที่เข้าไปดำเนินการผลิตแร่ลิเทียมในประเทศชิลีร่วงลงทุนที่ 10%-21% แม้ว่ารัฐบาลชิลีจะยืนยันว่าแผนการใหม่จะไม่กระทบกับบริษัทที่ลงทุนในประเทศชิลี
ที่มาของข้อมูล Electrek.co
ที่มาของรูปภาพ Reuters
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67