สหรัฐฯ ทดสอบระบบต่อต้านเครื่องยิงสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าติดตั้งใน F-16 ผ่านฉลุย
นอร์ธรอป กรัมแมน ทดสอบระบบ AN/ALQ-257 เครื่องรับมือการโจมตีจากเครื่องส่งสัญญาณก่อกวนอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จ
สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างในปัจจุบัน นอร์ธรอป กรัมแมน (Northrop Grumman) บริษัทอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารสัญชาติสหรัฐอเมริกา ได้ทดสอบเทคโนโลยีใหม่เพื่อปกป้องเครื่องบินรบ F-16 จากภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ AN/ALQ-257 หรือ ไอวีอีดับเบิลยูเอส (IVEWS - Integrated Viper Electronic Warfare Suite) เพื่อรับมือการโจมตีจากเครื่องส่งสัญญาณก่อกวนจำลอง
ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ช่วงแรกเริ่มเปิดตัว เครื่องบินขับไล่ F-16 Fighting Falcon ของบริษัทเจเนอรัล ไดนามิกส์ (General Dynamics) ถูกตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นเครื่องบินรบที่ไม่สามารถทำงานได้ดีนัก อย่างไรก็ตาม F-16 ได้พิสูจน์ตัวเองในฐานะเครื่องบินรบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในสงครามเย็น โดย F-16 ถูกพัฒนาเป็นเครื่องบินรบที่ใช้งานได้หลากหลายภารกิจ โดยมีจำนวนการสร้างถึง 4,600 ลำ และยังคงถูกส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ อยู่เป็นนิจในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม F-16 ซึ่งเป็นเครื่องบินจากยุค 1970 ต้องมีการอัปเกรดเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในยุค 2020 ที่มีการโจมตีด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องบินรบไม่ทำงาน ไปจนถึงขั้นไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นที่มาของเครื่องมือใหม่ ๆ อาทิ IVEWS ระบบดิจิทัลแบบโมดูลาร์ ที่มีคุณสมบัติสร้างตัวรับและตัวส่งสัญญาณเพื่อสกัดการโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ทันทีจากในทุกทิศทาง ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือใหม่ ๆ ที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมกับเครื่องบินโมเดลปัจจุบันได้
ที่มาของรูปภาพ Northrop Grumman
วิศวกรยังได้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ IVEWS ด้วยเครื่อง LIVE ซึ่งเป็นเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่สามารถจำลองการโจมตีด้วยคลื่นอิเล็กทรอนิกส์ไปยัง IVEWS ในรูปแบบเสมือนจริง โดยนอร์ธรอป กรัมแมนกล่าวว่า IVEWS ทำงานได้ดีตามที่ต้องการ โดยสามารถสกัดคลื่นรบกวนได้ ทำให้เครื่องบิน F-16 ยังทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่เปิดเผยกำหนดการนำมาใช้งาน
อย่างไรก็ตาม การยิงคลื่นไปยัง IVEWS ครั้งนี้ เป็นการฟีดสัญญาณโดยตรงแทนการผ่านเสาอากาศเรดาร์และเซนเซอร์ตามปกติ โดยวิธีนี้ให้วิศวกรสามารถตรวจสอบผลการทดสอบโดยตรงได้ โดยไม่ต้องนำเอาตัวแปรเสริมอื่น ๆ มาคำนวณในการทดสอบด้วย
ที่มาของข้อมูล Newatlas
ที่มาของรูปภาพ General Dynamics
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67