6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลร้ายแรงที่สุดในโลก
มองย้อนรอย 6 เหตุการณ์นิวเคลียร์รั่วไหลที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา พบทั้งในอดีตสหภาพโซเวียต, สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ และญี่ปุ่น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีข้อดีหลายอย่างและถูกใช้งานในหลายประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้เคยเกิดข้อผิดพลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากในอดีต
หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างความร้อนมหาศาลไปทำให้น้ำเปลี่ยนสถานะเป็นไอและหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาใหม่ ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้
เหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมดในโลกนี้ TNN Tech ขอหยิบยกมานำเสนอทั้งหมด 6 เหตุการณ์ด้วยกัน ได้แก่
- ปี 1986 นิคมเชอร์โนบิล สหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นเคียฟ, ยูเครน) สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4,000 คน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้ถูกปิดจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ ผู้ที่เดินทางไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน
- ปี 1957 คัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ สารที่รั่วไหลไอโอดีน-131 ผู้เสียชีวิต 240 คน
- ปี 1957 คิสตีม สหภาพโซเวียต สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 200 คน
- ปี 2011 เมืองฟูกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น สารที่รั่วไหลซีเซียม-137 ผู้เสียชีวิต 4 คน โดยสาเหตุเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวขนาด 8.9 และส่งผลร้ายแรงต่อประเทศญี่ปุ่น รวมไปถึงพื้นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกิชิมะ มีการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจำนวนมาก และนับเป็นภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในโลกนับตั้งโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิดในปี 1986
- ปี 1961 รัฐไอดาโฮ ประเทศสหรัฐอเมริกา สารที่รั่วไหลคือ ยูเรเนียม-235 ผู้เสียชีวิต 3 คน
- ปี 1999 อิบารากิ ประเทศญี่ปุ่น สารที่รั่วไหลยูเรเนียม ผู้เสียชีวิต 3 คน
โดยยอดทั้งหมดนี้เป็นยอดผู้เสียชีวิตที่รวมทั้งผลกระทบโดยตรงจากการระเบิดหรือการรั่วไหล และการได้รับกัมมันตภาพรังสีสะสมหรือผลกระทบที่เป็นผลต่อเนื่องจากเหตุการณ์รั่วไหลด้วยเช่นกัน
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มักใช้เงินลงทุนก่อสร้างสูงกว่าโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมาตรการความปลอดภัยหลายชั้นและใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูงเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและอุบัติเหตุร้ายแรงที่อาจตามมา อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังมีข้อดีในด้านต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้ารูปแบบอื่น ๆ โดยใช้เชื้อเพลิงปริมาณน้อยแต่สามารถให้พลังงานมหาศาลเป็นระยะเวลาต่อเนื่องได้หลายปี
ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยนั้นก็มีเครื่องปฏิกรณ์ใช้งานอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเครื่องปฏิกรณ์เครื่องแรกนั้นเริ่มดำเนินงานในปี 2505 และมีชื่อว่า ปปว-1/1 (เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย 1) มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,200 กิโลวัตต์ (kW)
ที่มาของข้อมูล Wikipedia, สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) - เว็บเก่า, สทน.
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67