TNN ส่อง 3 แนวคิด สะท้อนชีวิตสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking)

TNN

Tech

ส่อง 3 แนวคิด สะท้อนชีวิตสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking)

ส่อง 3 แนวคิด สะท้อนชีวิตสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking)

ถอดมุมมองของสตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ชื่อก้องโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ชาวอังกฤษ ผ่าน 3 คำพูด ที่สตีเฟน ฮอว์คิงพูดถึงชีวิตและการทำงานของเขา ร้อยเรียงเป็นตัวตน “สตีเฟน ฮอว์คิง” ที่เรารู้จักในวันนี้


It is a waste of time to be angry about my disability. One has to get on with life and I haven't done badly. People won't have time for you if you are always angry or complaining.

มันเป็นเรื่องเสียเวลาที่จะมาโกรธความพิการของผม เราต้องอยู่กับความเป็นจริงของชีวิต และผมก็ทำได้ไม่แย่เลย การเอาแต่โกรธหรือบ่นตลอดเวลามีแต่ทำให้คนรู้ว่าไม่ควรเสียเวลาไปกับคุณ


หรือสรุปได้ว่าอย่าไปโกรธกับความพิการ เพราะการเอาแต่โกรธหรือบ่นตลอดเวลา มีแต่จะทำให้คนรอบตัวรู้สึกว่าไม่อยากเสียเวลาในชีวิตของเราอีกต่อไป


หนึ่งในคำพูดที่สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษที่โด่งดังที่สุดในศตวรรษที่ 21 ผู้ล่วงลับที่กล่าวไว้ในปี 2005 จากการให้สัมภาษณ์กับเดอะ การ์เดียน (The Guardian) สื่อชื่อดังของอังกฤษ สะท้อนมุมมองของฮอว์คิงต่อความพิการของตัวเองได้เป็นอย่างดี 


สตีเฟน ฮอว์กิง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากความผิดปกติของระบบประสาทคำสั่งในสมอง ซึ่งทำให้ฮอว์คิงค่อย ๆ เสียการควบคุมกล้ามเนื้อไปตั้งแต่อายุ 21 ปี 


อย่างไรก็ตาม สตีเฟน ฮอว์คิง ไม่ได้สูญเสียกำลังใจในการใช้ชีวิต และยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นนักฟิสิกส์รวมถึงสร้างครอบครัวต่อไป โดยเฉพาะการเป็นนักฟิสิกส์ที่ภายหลังได้กลายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงจากผลงานด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนผ่านมุมมองในปี 1985 ที่เคยกล่าวว่า


My goal is simple. It is a complete understanding of the universe, why it is as it is and why it exists at all.

เป้าหมายผมนั้นเรียบง่าย มันคือการเข้าใจจักรวาลทั้งหมด ทำไมมันถึงเป็นแบบที่เห็น และทำไมถึงมีอยู่ นั่นคือทั้งหมดของผม


หนึ่งในผลงานสำคัญของสตีเฟน ฮอว์คิง ก็คือการเขียนหนังสือเรื่อง A Brief History of Time ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า "ประวัติย่อของกาลเวลา" ที่สร้างทั้งรายได้และชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมหาศาล 


แต่ในอีกทางหนึ่ง สตีเฟน ฮอว์คิง ได้ร่วมทำงานวิจัยกับโรเจอร์ เพนโรส (Rogen Penrose) และทีมนักวิจัยในการต่อยอดการคำนวณการมีอยู่ของหลุมดำที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เคยตีพิมพ์ไว้ต่อจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Relativity) โดยทำนายการมีอยู่ของหลุมดำว่าจะมีการปลดปล่อยรังสี (Radiation) พลังงานบางอย่างออกมาในช่วงปี 1970


ซึ่งภายหลังงานชิ้นนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel Prize) ไปในปี 2020 หลังจากฮอว์คิงจากไปเพียง 2 ปี จากการที่มีการค้นพบหลุมดำเป็นครั้งแรกตามที่ฮอว์กิงทำนายไว้เมื่อปี 2019 หรือเกือบ 50 ปี ให้หลัง ซึ่งรางวัลโนเบลนั้นไม่มีการมอบรางวัลให้กับผู้ล่วงลับ ทำให้ทั่วโลกต่างแสดงความเสียดายต่อการยกย่องที่ช้าเกินไปของคณะกรรมการรางวัลโนเบลในตอนนั้น 


แต่เชื่อได้ว่าสตีเฟน ฮอว์คิงเองอาจจะให้ความสำคัญกับการทำสิ่งต่าง ๆ ตามความฝันที่หลายคนมองว่าก้าวล้ำไปกว่าคนอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่ารางวัลที่เขาได้รับ ซึ่งสะท้อนผ่านคำพูดของเขาในงานมอบรางวัลแด่การค้นพบองค์ความรู้เพื่อรากฐานทางฟิสิกส์ (Special Breakthrough Prize in Fundamental Physics) ในปี 2013 ว่า


I feel a sense of achievement that I have managed to make these contributions, despite having ALS. I have not allowed my disability to stop doing most things. My motto is there are no boundaries, Thank you.

ผมสัมผัสได้ถึงความสำเร็จว่าผมได้จัดการให้ความสำเร็จต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นแม้ว่าผมจะเป็นโรค ALS อยู่ก็ตาม ผมไม่ยอมให้ความพิการมาฉุดรั้งการทำเรื่องต่าง ๆ ของผม ผมถือภาษิตว่าชีวิตไม่มีขอบเขต ขอบคุณ


ประสบการณ์ องค์ความรู้ และแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตของสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) คือสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตของแต่ละคนได้ ทั้งการทำงานและการหาเส้นทางชีวิตที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล TNN Tech เชื่ออย่างยิ่งว่าทั้ง 3 แนวคิด ที่ได้หยิบยกมานั้นจะกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสู่การมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมของผู้อ่านทุกคน


ที่มาข้อมูล WikipediaWikiquotePhys.orgThe Breakthrough PrizeThe Guardian

ที่มารูปภาพ Wikipedia Commons 

ข่าวแนะนำ