ส่องเทคโนโลยียานยนต์สาธารณะสุดล้ำทั่วโลก | TNN Tech Reports Weekly
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดยานพาหนะที่ใช้เดินทางในรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงการขนส่งสาธารณะด้วย จากเดิมที่เราอาจจะคุ้นเคยภาพของรถแท็กซี่ หรือรถโดยสารที่วิ่งบนท้องถนนโดยใช้คนขับ และใช้พลังงานจากน้ำมัน ปัจจุบันอาจไม่ใช่แค่นั้นแล้ว เพราะมีผู้ผลิตมากมายที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดยานพาหนะที่ใช้เดินทางในรูปแบบใหม่ ๆ รวมไปถึงการขนส่งสาธารณะด้วย จากเดิมที่เราอาจจะคุ้นเคยภาพของรถแท็กซี่ หรือรถโดยสารที่วิ่งบนท้องถนนโดยใช้คนขับ และใช้พลังงานจากน้ำมัน ปัจจุบันอาจไม่ใช่แค่นั้นแล้ว เพราะมีผู้ผลิตมากมายที่พยายามพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนมากขึ้น
บทความนี้ทาง Tech Reports Weekly จะพาไปสำรวจรูปแบบการให้บริการขนส่งสาธารณะในปัจจุบัน ว่าพัฒนาไปถึงขั้นไหนแล้ว และรองรับการเดินทางของผู้คนอย่างไรบ้าง ไปอ่านต่อกันได้เลย !?
Robotaxi
Robotaxi (โรโบแท็กซี่) แท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ แท็กซี่ไร้คนขับนี้ เป็นผลงานของ Baidu (ไป่ตู้) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน และถือเป็นบริการแท็กซี่ไร้คนขับเชิงพาณิชย์รายแรกของจีนที่ได้รับอนุญาต เปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2021 ภายใต้แบรนด์รถยนต์ที่ชื่อว่า "อพอลโล"
- ระบบบริการรถแท็กซี่อัตโนมัตินี้ถูกเรียกว่า Robotaxi สามารถใช้งานได้ผ่านแอปพลิเคชัน “Apollo Go” (อพอลโล โก) บนสมาร์ตโฟน โดยให้บริการในช่วงเวลา 09.00 - 17.00 น.
- เมื่อรถมาถึงจุดขึ้นที่ปักหมุดไว้ เราแค่สแกนรหัส QR ที่ตัวรถ เพื่อยืนยันตัวตน และปลดล็อกประตู จากนั้นเมื่อเข้าไปนั่งในรถ ก็กดปุ่ม "Start the Journey" เพิ่อเริ่มการเดินทางได้เลย
- ตัวรถจะเคลื่อนตัวออกไป เมื่อตอนเราปิดประตูและเรารัดเข็มขัดนิรภัยเรียบร้อยดีแล้วเท่านั้น
- ในรถจะมีพนักงานที่เป็นมนุษย์นั่งอยู่ด้านหลังของพวงมาลัยรถตลอดเวลาเพื่อรับประกันความปลอดภัย ในกรณีที่อาจเกิดอุบัติเหตุ และสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ใช้บริการในระยะเริ่มต้น
- ปัจจุบัน Robotaxi ของ Baidu มีให้บริการใน 4 เมืองใหญ่ของจีน คือ กรุงปักกิ่ง กวางโจว เซี่ยงไฮ้ และเมืองเซินเจิ้น ทาง Baidu ทีเป้าหมายในในระยะยาวว่า จะเปิดให้บริการแท็กซี่ขับเคลื่อนอัตโนมัติให้ได้ 65 เมือง ภายในปี 2025 นี้ และจะขยายถึง 100 เมือง ภายในปี 2030
HOLON mover
HOLON mover (โฮลอน มูฟเวอร์) คือรถชัตเทิลบัสไฟฟ้าไร้คนขับขนาดเล็ก จากผลงานการพัฒนาของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตรถยนต์จากอิตาลีและเยอรมัน
- ตัวรถมาพร้อมระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และการออกแบบภายในที่เหมือนนั่งอยู่ในห้องพักผ่อนเพื่อให้ผู้โดยสารรู้สึกสบาย และปลอดภัย เหมือนอยู่บ้าน รองรับผู้โดยสารได้ถึง 15 คน
- ตัวรถมีประตูห้องโดยสารบานใหญ่ที่เปิดกว้าง พร้อมทางลาดอัตโนมัติ และที่กั้น สำหรับผู้ใช้งานรถเข็น
- มีอักษรเบรลล์ และเสียงประกาศบอกจุดสถานี เพื่อผู้พิการทางสายตา เพื่อให้ทุกคนได้ใช้รถโดยสารได้อย่างเท่าเทียมกัน
- เทคโนโลยีภายในมีการติดตั้งกล้อง พร้อมเซนเซอร์ LiDAR หรือ อุปกรณ์ที่ใช้แสงเพื่อตรวจจับและคาดคะเนระยะทางของวัตถุ
- Radar หรือ การใช้คลื่นวิทยุในการค้นหาตำแหน่งเป้าหมาย
- มีระบบซอฟต์แวร์ประมวลผล สำหรับรองรับระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับที่ 4 High Automation ซึ่งเป็นระดับที่ตัวรถสามารถขับเคลื่อนเองได้ในพื้นที่จำกัด
- ตัวรถมีอัตราเร็วสูงสุดที่ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้ระยะทางวิ่งสูงสุดต่อรอบการชาร์จอยู่ที่ประมาณ 290 กิโลเมตร
HOLON mover เพิ่งเปิดตัวรถไปในงาน CES หรือ Consumer Electronics Show งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลกที่พึ่งจบไปเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา แผนการต่อไปจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย ก็คือ จะทดสอบให้บริการรับ-ส่งผู้โดยสารในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา ก่อนจะเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ต่อไป
Midnight
Midnight (มิดไนท์) คือแท็กซี่บินได้ผลงานจาก Archer (อาร์เชอร์) ผู้ผลิตอากาศยานในสหรัฐอเมริกา
- ตัวรถรองรับผู้โดยสารได้ 4 ที่นั่ง
- มีสีดำเงาดูโฉบเฉี่ยว มาพร้อมกับใบพัดจำนวนมากถึง 12 ใบพัด ถูกออกแบบให้บินได้ทั้งในแนวดิ่ง และการบินแบบปกติ
- ทำความเร็วได้สูงสุดที่ 241 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินได้ไกล 160 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
- เมื่อเทียบกับรถยนต์แล้ว การเดินทางด้วยรถยนต์ปกติใช้เวลามากกว่า 30 นาที หากเดินทางด้วย Midnight จะพาไปถึงที่หมายภายใน 10 นาทีเท่านั้น แถมยังให้เสียงที่เงียบกว่าเฮลิคอปเตอร์หลายสิบเท่า
Midnight ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว มีแผนเตรียมจะเปิดให้บริการในปี 2025 ส่วนราคาค่าบริการ มีการคาดการณ์จะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3,500 บาท ต่อเที่ยวบิน
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67