TNN ผู้สร้างรถไฟฟ้าบินได้ Airspeeder เตรียมยื่นบรรจุแข่งรถไฟฟ้าเป็นกีฬาโอลิมปิก

TNN

Tech

ผู้สร้างรถไฟฟ้าบินได้ Airspeeder เตรียมยื่นบรรจุแข่งรถไฟฟ้าเป็นกีฬาโอลิมปิก

ผู้สร้างรถไฟฟ้าบินได้ Airspeeder เตรียมยื่นบรรจุแข่งรถไฟฟ้าเป็นกีฬาโอลิมปิก

แอร์สปีดเดอร์ ผู้คิดค้นรถแข่งบินได้พลังงานไฟฟ้ารายแรกของโลก เล็งยื่นบรรจุการแข่งขันรถบินได้ในกีฬาโอลิมปิกในอนาคต

แอร์สปีดเดอร์ (Airspeeder) บริษัทด้านยานยนต์สัญชาติออสเตรเลีย ผู้คิดค้นรถแข่งบินได้พลังงานไฟฟ้ารายแรกของโลก เล็งยื่นบรรจุการแข่งขันรถบินได้ในกีฬาโอลิมปิก


แอร์สปีดเดอร์ มีลักษณะคล้ายรถแข่งสูตร 1 หรือฟอร์มูลาวัน (Formula 1) ที่สามารถบินได้บนท้องฟ้า ใช้การบินขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ทั้งยังเป็น eVTOL รูปแบบใหม่ในการแข่งขันกีฬาความเร็ว ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนารถยนต์บินได้เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยมีทั้งความรวดเร็วและปลอดภัยสูง เพื่อแก้ปัญหารถติดบนถนน


แอร์สปีดเดอร์ ใช้โครงสร้างคาร์บอนไฟเบอร์น้ำหนักเบา ติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าถึง 8 ตัว แบตเตอรี่พลังงานไฟฟ้าใช้เวลาชาร์จ 20 นาที เมื่อบินขึ้นบนท้องฟ้ามันสามารถทำความเร็วได้มากถึง 0-100 กิโลเมตร ภายในเวลา 2.3 วินาที และสามารถเร่งความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพดานบินสูงสุด 60 เมตร มีเซนเซอร์ด้านความปลอดภัยมากกว่า 20 จุด เพื่อตรวจสอบการทำงานต่าง ๆ ทั่วคัน


ผู้สร้างรถไฟฟ้าบินได้ Airspeeder เตรียมยื่นบรรจุแข่งรถไฟฟ้าเป็นกีฬาโอลิมปิก


สตีเฟน ซิดโล (Stephen Sidlo) หัวหน้าฝ่ายสื่อสาร เผยว่า “ยานลำนี้ ไม่ใช่ทั้งโดรน และไม่ใช่ทั้งเครื่องบิน แต่เป็นยานแห่งโลกอนาคต เหมือนกับการแข่งขันในภาพยนตร์ Star Wars ทั้งยังบินได้หลายทิศทางอีกด้วย”


สำหรับจุดเริ่มต้นของแอร์สปีดเดอร์ เริ่มจากการที่บริษัท อเลาดา แอโรนัลติก (Alauda Aeronautics) ได้จับมือกับบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ เช่น Tesla, Amazon เพื่อให้ได้รับเงินทุนจำนวนหนึ่งมาใช้พัฒนาต้นแบบของรถแอร์สปีดเดอร์ โดยมีการเปิดตัวครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปี 2021 และมีการจัดการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกจะเป็นการแข่งขันในทางตรง (Drag) จนกระทั่งถูกพัฒนาเป็นการแข่งขันแบบควบคุมระยะไกลเพื่อแข่งแบบเซอร์กิต (Circuit) พร้อมกับมีการจัดงานแข่งขัน Airspeeder’s flagship EXA Series ที่จะจัดแข่งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก


สำหรับการทดสอบแอร์สปีดเดอร์บนอากาศจะเกิดขึ้นในทะเลทรายทางตอนใต้ของออสเตรเลียเร็ว ๆ นี้ และหากกระบวนการทดสอบทุกอย่างแล้วเสร็จ จากนั้น ทีมงานก็จะเปิดให้ผู้คนสามารถมีส่วนร่วมในการแข่งขันด้วยเทคโนโลยี AR (เทคโนโลยีที่นำภาพเสมือน ที่เป็นรูปแบบ 3 มิติ มาทับซ้อนกับโลกจริงผ่านกล้องและการประมวลผล) แต่ปัจจุบันยังเป็นเพียงการแข่งขันจากนักแข่งทั่วไปตามปกติ 




การการแข่งขันเหล่านี้ช่วยเปิดทางให้อากาศยานขึ้นลงแนวดิ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า หรือ eVTOL เข้ามายึดครองพื้นที่ของตลาดยานพาหนะอย่างรวดเร็ว โดย Morgan Stanley บริษัทด้านการเงินระดับโลกประเมินว่า เทคโนโลยี eVTOL จะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2040 โดยเบื้องต้นจะถูกใช้งานในด้านการขนส่งทางอากาศและการรักษาพยาบาลทางไกล และช่วยลดความแออัดของเขตเมือง ทั้งเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารที่ต้องการเทคโนโลยีสะอาดในการเดินทาง เช่น แท็กซี่อากาศ เป็นต้น


ที่มาของข้อมูล interestingengineering

ที่มาของรูปภาพ Airspeeder

ข่าวแนะนำ