TNN กล้องเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo)

TNN

Tech

กล้องเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo)

กล้องเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo)

กล้องเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo) อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3.2 พันล้านกิโลเมตร

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo) หลังจากจับตาดูมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2022 เนื่องจากดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีลักษณะพิเศษวงแหวน 2 วง ล้อมรอบดาว ซึ่งเป็นหนั่งในความพิศวงอย่างหนึ่งในระบบสุริยะ การค้นพบดังกล่าวเปิดทางให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวัตถุในอวกาศมากขึ้น

การถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo) ทำได้ยากเนื่องจากขนาดที่เล็กของมัน ทีมงานนักวิทยาศาสตร์จึงใช้การคำนวณวิถีโคจรรอจังหวะให้ดาวเคราะห์น้อยชาริกโลกโคจรตัดผ่านหน้าดาวฤกษ์ที่อยู่ด้านหลังและใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เก็บข้อมูลดาวเคราะห์น้อยชาริกโล แม้ว่าจะมีโอกาสสำเร็จเพียง 50% แต่ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ก็ประสบความสำเร็จดาวเคราะห์น้อยชาริกโลโคจรตัดผ่านดาวฤกษ์ด้านหลังอย่างพอดิบพอดี

ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยชาริกโลโคจรตัดผ่านดาวฤกษ์ด้านหลังนักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เก็บข้อมูลวงแหวนรอบนอกของดาวเคราะห์น้อยได้ชัดเจนมากขึ้น โดยใช้อุปกรณ์กล้อง Near-infrared Spectrograph (NIRSpec) ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของแสงเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเมื่อวงแหวนของดาวเคราะห์น้อยบดบังดาวฤกษ์ด้านหลัง อุปกรณ์กล้อง Near-infrared Spectrograph (NIRSpec) แสดงผลลัพธ์สเปกตรัมที่บ่งชี้ว่าวงแหวน 2 วง รอบดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo) มีองค์ประกอบของน้ำแข็งที่เป็นผลึกอยู่

สำหรับดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo) หรือ 10199 ชาริกโล (Chariklo) มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่ไม่แน่นอนตำแหน่งระหว่างดาวพฤหัสบดีและดาวเนปจูน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 250 เมตร อยู่ห่างจากโลกประมาณ 3.2 พันล้านกิโลเมตร ถูกค้นพบครั้งแรกโดยเจมส์ วี. สก็อตติ (James V. Scotti) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ในปี 1997 อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อยเซนทอร์


กล้องเจมส์ เวบบ์ ค้นพบน้ำแข็งในวงแหวนดาวเคราะห์น้อยชาริกโล (Chariklo)



ที่มาของข้อมูล Space 
ที่มาของรูปภาพ 
NASA


ข่าวแนะนำ