TNN หมอมีอึ้ง ! ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT ทำข้อสอบแพทย์ผ่านฉลุย !

TNN

Tech

หมอมีอึ้ง ! ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT ทำข้อสอบแพทย์ผ่านฉลุย !

หมอมีอึ้ง ! ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT ทำข้อสอบแพทย์ผ่านฉลุย !

วงการแพทย์สั่นสะเทือน หลัง แชตจีพีที (ChatGPT) เอไออัจฉริยะที่ตอบคำถามได้เก่งกาจ สามารถสอบผ่านใบประกอบแพทย์ในสหรัฐฯ ได้สบาย ๆ สงสัยแนวคิด คุณหมอเอไอ น่าจะไม่ไกลเกินจริง

ยังคงมาแรงไม่หยุดสำหรับกระแสของ แชตจีพีที (ChatGPT) หรือปัญญาประดิษฐ์นักตอบคำถามชื่อดังจากบริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) หลังนักวิจัยลองให้มันทำข้อสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ปรากฏว่าทำคะแนนออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมใด ๆ


โดยนักวิจัยพบว่า แชตจีพีที (ChatGPT)  สามารถทำข้อสอบ U.S. Medical Licensing Examination ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้และทักษะทางการแพทย์ด้วยความแม่นยำอยู่ที่ร้อยละห้าสิบ และทำข้อสอบเชิงวิเคราะห์ได้แม่นยำถึงร้อยละหกสิบ ซึ่งอาจจะผ่านเกณฑ์ได้แบบสบาย ๆ 

หมอมีอึ้ง ! ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT ทำข้อสอบแพทย์ผ่านฉลุย ! ภาพจาก ChatGPT

 

แต่ถึงเป็นแบบนี้ ก็ไม่ได้แปลว่าเอไอ จะมาแย่งงานคุณหมอแต่อย่างใด เพราะทีมวิจัยพบว่าตัว แชตจีพีที (ChatGPT)  ดูเหมือนจะถูกตั้งโปรแกรมให้หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำ หรือการวินิจฉัยทางการแพทย์ ดังนั้นจึงมองว่า มันน่าจะมาเป็นตัวช่วยเหลือด้านการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มากกว่า


อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ แชตจีพีที (ChatGPT) โชว์ความสามารถตอบคำถามระดับเทพจนชวนอึ้ง เพราะก่อนหน้านี้มันเคยโชว์ทำข้อสอบมหาวิทยาลัยในหลักสูตร MBA หรือหลักสูตรปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจมาแล้ว 


โดยคนที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลนี้ คือ ศาสตราจารย์คริสเตียน เทอร์วีช (Christian Terwiesch) จากสถาบันวอร์ตัน (Wharton) มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา โดยประเมินว่าเอไอทำข้อสอบคะแนนถึงเกรด B ได้สบาย  และอาจจะเป็นคู่แข่งสำคัญของอาชีพนักให้คำปรึกษาธุรกิจในอนาคต

หมอมีอึ้ง ! ปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT ทำข้อสอบแพทย์ผ่านฉลุย ! ภาพจาก ChatGPT

 

สำหรับ แชตจีพีที (ChatGPT) เป็นเครื่องมือค้นหาด้วยปัญญาประดิษฐ์ ผู้ใช้สามารถพิมพ์คำถาม และรอการตอบกลับได้ในไม่กี่วินาที และกลายเป็นที่นิยมจากความสามารถที่หลากหลาย ตั้งแต่การเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงให้คำแนะนำปัญหาทั่วไป โดยปัจจุบันมีเปิดให้ใช้ฟรี และแบบเสียค่าบริการ 


และด้วยความสามารถระดับนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ล่าสุด บริษัทไมโครซอฟต์ (Microsoft) ประกาศเป็นผู้สนับสนุนการวิจัย และร่วมลงทุนกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 326,000 ล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว


ข้อมูลจาก medpagetoday, businessinsidernypost

ข่าวแนะนำ