TNN iKnife มีดผ่าตัดดมกลิ่น ตรวจหามะเร็งมดลูกได้ในไม่กี่วินาที

TNN

Tech

iKnife มีดผ่าตัดดมกลิ่น ตรวจหามะเร็งมดลูกได้ในไม่กี่วินาที

iKnife มีดผ่าตัดดมกลิ่น ตรวจหามะเร็งมดลูกได้ในไม่กี่วินาที

ผู้เชี่ยวชาญพบมีดไอไนฟ์ (iKnife) สามารถดมตรวจหากลิ่นเนื้องอก เพื่อวินิจฉัยมะเร็งมดลูกได้ภายในไม่กี่วินาที

ทีมผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) ประเทศอังกฤษ ได้ค้นพบว่ามีดผ่าตัดไอไนฟ์ (iKnife) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้รักษามะเร็งเต้านมและมะเร็งสมองอยู่แล้ว สามารถตรวจหามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้อย่างแม่นยำ


มีดผ่าตัดไอไนฟ์ (iKnife) คืออะไร ? 

สำหรับมีดผ่าตัดไอไนฟ์เป็นมีดผ่าตัดแบบไฟฟ้าที่ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1920 ซึ่งตัวมีดจะใช้กระแสไฟฟ้าทำให้เนื้อเยื่อร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วและตัดผ่านไป เพื่อลดการสูญเสียเลือด ด้วยวิธีการนี้จะทำให้มีควันเกิดขึ้นขณะผ่าตัด ซึ่งจะถูกดูดออกไปด้วยระบบดูดควัน

iKnife มีดผ่าตัดดมกลิ่น ตรวจหามะเร็งมดลูกได้ในไม่กี่วินาที

โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยลอนดอนได้ทำการศึกษาด้วยการนำเนื้อเยื่อมดลูกจากผู้หญิงจำนวน 150 คน ที่อาจเป็นมะเร็งมดลูก มาผ่าตัดด้วยมีดไอไนฟ์ แล้วทำการวิเคราะห์จากควัน เพื่อระบุมะเร็งในชิ้นเนื้อเยื่อตัวอย่าง โดยเทียบกับวิธีการที่ใช้วินิจฉัยมะเร็งมดลูกในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าวิธีการวินิจฉัยมะเร็งมดลูกด้วยมีดไอไนฟ์มีความแม่นยำถึง 89 เปอร์เซ็นต์

iKnife มีดผ่าตัดดมกลิ่น ตรวจหามะเร็งมดลูกได้ในไม่กี่วินาที

การลดความกังวลใจให้กับคนไข้ 

แม้ว่าการวินิจฉัยทางจุลชีววิทยาที่เป็นวิธีการวินิจฉัยเนื้อเยื่อมะเร็งในปัจจุบันจะมีความแม่นยำมากกว่าการวินิจฉัยด้วยมีดไอไนฟ์ แต่ก็เป็นวิธีการวินิจฉัยที่ใช้เวลานานประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ ซึ่งหากผู้เชี่ยวชาญสามารถนำมีดไอไนฟ์มาวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อบอกความเป็นไปได้ในการเป็นมะเร็งให้กับคนไข้ทราบและทำให้คนไข้ลดความกังวลใจระหว่างรอผลตรวจทางจุลชีววิทยาไปได้


ในทางกลับกัน หากผลวินิจฉัยด้วยมีดไอไนฟ์ออกมาว่าชิ้นเนื้อเยื่อตัวอย่างนั้น ๆ มีมะเร็งอยู่ จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถระบุได้ว่าต้องเร่งวินิจฉัยทางจุลชีววิทยากับคนไข้รายไหน ซึ่งจะทำให้แพทย์สามารถแจ้งและกำหนดแนวทางการรักษาให้กับคนไข้ได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคร้ายที่สามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ในระยะเวลาที่ไม่แน่นอน ดังนั้นทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจึงต้องทำงานแข่งกับเวลาให้ได้มากที่สุด


ข้อมูลจาก MDPI

ภาพจาก Imperial College London

ข่าวแนะนำ