นักวิทยาศาสตร์เริ่มเปิดปฏิบัติการยิงคลื่น HAARP ใส่ดาวเคราะห์น้อยแล้ว
นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ HAARP ทดสอบยิงคลื่นวิทยุใส่ดาวเคราะห์น้อย 2010 XC15 ที่โคจรเข้าใกล้โลก เพื่อทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
หลังจากดาวเคราะห์น้อยขนาด 500 ฟุต ที่มีชื่อว่า 2010 XC15 จะลอยเข้ามาเฉียดใกล้โลกในวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของเราได้เริ่มปฏิบัติการยิงคลื่นวิทยุเข้าใส่ดาวเคราะห์น้อย
โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอะแลสกา แฟร์แบงคส์ (University of Alaska Fairbanks) และองค์การบริหารอวกาศและการบินแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NASA ต้องการจะใช้ดาวเคราะห์น้อยลูกนี้เป็นตัวทดสอบ เพื่อใช้จำลองเป็นตัวแทนของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ซึ่งเป็นชื่อของดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยงว่าจะพุ่งชนโลก และนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า นับแต่วันที่ 13 เมษายน 2029 ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) จะอยู่ใกล้โลกมากกว่าระยะห่างของโลกกับดวงจันทร์ถึง 10 เท่า
โครงการ HAARP (High-frequency Active Auroral Research Program) คือโครงการวิจัยร่วมที่สนับสนุนโดยรัฐบาลสหรัฐ เบื้องต้นเพื่อศึกษาชั้นบรรยากาศโลกในระดับไอโอโนสเฟียร์ ที่มีระดับความสูงอยู่ที่ 80-643 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก และครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการทดสอบยิงคลื่นแสงออโรราแบบตื่นตัวด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง หรือ HARRP กับดาวเคราะห์น้อย และในการทดลองครั้งนี้ ทีมวิจัย HAARP จะ ยิงคลื่นวิทยุขนาด 9.6 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ไปยังดาวเคราะห์น้อย 2010 XC15 อย่างต่อเนื่อง
ที่มาของรูปภาพ Alaska Public Media
นักดาราศาสตร์จากศูนย์วิจัยเผยว่า ก่อนหน้านี้ พวกเขามักจะยิงคลื่นความถี่ในระยะ S Band (2,000-4,000 MHz) หรือ X Band (8,000-12,000 MHz) ทดสอบยิงคลื่นวิทยุไปยังเทหวัตถุในอวกาศ เพื่อศึกษารูปร่าง วิถีการโคจร ลักษณะพื้นผิว และคุณลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ของเทหวัตถุเหล่านี้ แต่ในปฏิบัติการครั้งนี้ พวกเขาเลือกใช้คลื่นที่ต่ำลงมาที่ความถี่ 9.6 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็เพื่อต้องการทราบว่า มีวัตถุอะไรอยู่ภายในดาวเคราะห์น้อย 2010 XC15 ลูกนี้กันแน่ และข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแกนในอุกกาบาต จะช่วยเผยว่า หากเกิดเหตุการณ์กระแทกกับผิวโลกขึ้นจริง อุกกาบาตลูกนี้จะสร้างความเสียหายให้พื้นผิวโลกได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เตรียมแผนรับมือกับดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ได้
ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไป ดาวเคราะห์น้อย 2010 XC15 จะมีระยะห่างจากโลกประมาณ 2 เท่าของระยะระหว่างโลกกับดวงจันทร์ และโครงการ HAARP จะยิงคลื่นวิทยุ 9.6 ล้านครั้งในทุก 2 วินาทีไปยังดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว การทดลองนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่า หากนักวิทยาศาสตร์สามารถทดสอบยิงคลื่นวิทยุไปยังดาวเคราะห์น้อย 2010 XC15 และตรวจจับสิ่งที่อยู่ภายในได้สำเร็จ พวกเขาก็จะทำกับดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ได้ในหลักการเดียวกัน
ทั้งนี้ มาร์ค เฮนส์ (Mark Haynes) หัวหน้าทีมวิจัยและวิศวกรจากนาซา ยังเผยว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามวิเคราะห์แกนในของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ด้วยเรดาร์ความยาวคลื่นสูง และกล้องโทรทรรศน์อย่างต่อเนื่อง โดยเรดาร์ความยาวคลื่นสูงจะทะลุทะลวงเปลือกของดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ได้ และหากคำนวณมวลของวัตถุได้ ก็จะรู้ว่าจะสกัดกั้นดาวเคราะห์น้อยตรงไหนถึงจะได้ผลมากที่สุด ทำให้การหยุดยั้งดาวเคราะห์น้อยง่ายขึ้น
ที่มาของรูปภาพ UAF
สำหรับดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) หากพุ่งชนโลกจริง ๆ จะสร้างความเสียหายให้กับพื้นผิวโลก นับจากจุดกระแทกออกไปเป็นรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร และจะปลดปล่อยพลังงานออกมาได้เท่ากับระเบิด TNT ขนาด 1,000 เมกะตัน หรือเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์นับร้อยลูก
อย่างไรก็ตาม ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (Apophis) ยังไม่ใช่เทหวัตถุดวงเดียวที่จะเดินทางมาใกล้โลก ยังมีดาวเคราะห์น้อยที่จะเฉียดมาใกล้ หรือพุ่งชนโลก อีกนับร้อยนับพันลูกในอนาคต คลื่นวิทยุความถี่ต่ำ อาจเป็นคำตอบสำคัญในการเข้าใจเทหวัตถุเหล่านี้ ทั้งยังช่วยยกระดับวิธีการรับมือวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศเหล่านี้ด้วย โครงการ HAARP จริงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง สำหรับมนุษย์ชาติ เพื่อให้อยู่รอดจากเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก
ที่มาของข้อมูล interestingengineering
ที่มาของรูปภาพ uaf
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67