TNN เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ "ภัยคุกคามต่อบริษัท"

TNN

Tech

เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ "ภัยคุกคามต่อบริษัท"

เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท

เมื่อการค้นหาผ่านแช็ตบอต AI รวดเร็วกว่าการใช้เว็บไซต์ Google จึงต้องเตรียมรับมืออย่างเร่งด่วน

นอกเหนือจาก AI (Artificial Intelligence - ปัญญาประดิษฐ์) ที่ช่วยเปลี่ยนรูปภาพเป็นการ์ตูนอะนิเมะ หรือสร้างภาพงานศิลป์จากข้อความแล้ว ยังมีอีกหนึ่ง AI ที่กำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ คือ ChatGPT จาก OpenAI ซึ่งสามารถตอบคำถามได้หลากหลายและครอบคลุมข้อมูลถึงปี 2021


ทว่า ChatGPT นี้ กลับสร้างความกังวลแก่บริษัทเสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่อย่าง Google จนถึงขั้นประกาศ "รหัสแดง" เพื่อบ่งบอกถึงภัยคุกคามที่อาจกระทบต่อธุรกิจของบริษัท



เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท ที่มาของภาพ OpenAI

 




รู้จัก ChatGPT


ChatGPT (แช็ตจีพีที) ถูกพัฒนาขึ้นโดย OpenAI บริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ก่อตั้งโดย อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของเทสลาและทวิตเตอร์ โดย ChatGPT ใช้เอนจิน GPT 3 (เวอร์ชัน 3.5) ในการพัฒนาฝึกสอน ซึ่งเอนจินดังกล่าวช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตอบคำถามที่ชาญฉลาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับแช็ตบอตรุ่นก่อนหน้าอย่าง InstructGPT ที่พัฒนาด้วย GPT-3 เวอร์ชันแรก ๆ



เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท ที่มาของภาพ OpenAI

 



การใช้งาน ChatGPT ถือว่าทำได้ง่ายมาก ๆ เพียงแค่คุณพิมพ์คำถามหรือคำแนะนำที่ต้องการทราบ ภายในไม่กี่วินาที ChatGPT ก็จะรังสรรค์ข้อมูลต่าง ๆ มาให้คุณได้อ่านอย่างน่าประหลาดใจ นอกจากนี้ หาก AI ไม่ทราบถึงแหล่งข้อมูลที่แท้จริงของเนื้อหาที่นำมาตอบ มันก็จะแจ้งคุณไว้ล่วงหน้าว่าข้อมูลดังกล่าวอาจจะไม่ถูกต้อง ในขณะที่ AI รุ่นเก่าอย่าง InstructGPT จะพยายามตอบคำถามนั้นให้ได้ โดยไม่สนใจความถูกต้องของเนื้อหา


ยิ่งไปกว่านั้น เหล่าโปรแกรมเมอร์บางกลุ่มได้ทดสอบความฉลาดของ ChatGPT ผลปรากฏว่า มันสามารถเขียนโค้ดโปรแกรมอย่างง่ายได้ เช่น โปรแกรมตู้เอทีเอ็ม หรือโปรแกรมเครื่องคิดเลข เป็นต้น นี่จึงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AI ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ของมนุษย์ได้ในอนาคต






เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ?


เว็บไซต์ Google คือ เสิร์ชเอนจินที่ได้รับความนิยมสูงสุดและยากที่จะหาใครเทียบ ผู้ใช้สามารถหาข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการพิมพ์คีย์เวิร์ดหรือคำถามลงไปในช่องค้นหา หลังจากนั้นในอีกไม่กี่วินาทีก็จะปรากฏรายการเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณค้นมาออกมานับล้านรายการ (รวมถึงวิดีโอ, รูปภาพ หรือแผนที่อีกด้วย) ด้วยการค้นหาที่ตรงจุดและเรียบง่าย ทำให้ Google ขึ้นครองอันดับหนึ่งของเว็บไซต์เสิร์ชเอนจินมาอย่างเนิ่นนาน จนหลายคนเชื่อว่าคงไม่มีใครที่จะมาโค่นบัลลังก์ของ Google ได้อย่างแน่นอน


เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท ที่มาของภาพ Google

 


ทว่า การมาถึงของ ChatGPT ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ผู้ใช้สามารถพิมพ์คำถามที่อยากรู้ลงไป จากนั้นก็จะได้รับคำตอบกลับมาโดยไม่จำเป็นต้องสุ่มเลือกเว็บไซต์ใด ๆ เลย จะเห็นได้ว่า ChatGPT เพิ่มความสะดวกในการค้นหาข้อมูล ในแง่ของความรวดเร็วในการได้รับข้อมูล


และนี่คือสิ่งที่ทำให้ Google เกิดความกังวล เมื่อแช็ตบอตกำลังเข้ามาแทนที่เว็บเสิร์ชเอนจินแบบเดิม ๆ แม้ว่าในขณะนี้มันยังให้คำตอบได้เฉพาะรูปแบบข้อความเท่านั้น แต่ในอนาคตมันอาจถูกพัฒนาเพื่อค้นหาข้อมูลในแบบรูปภาพหรือวิดีโอได้ด้วย


เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท ที่มาของภาพ OpenAI

 


นอกจากนี้ เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของ Google ผ่านการซื้อโฆษณาเพื่อดันให้เว็บไซต์ของลูกค้าขึ้นสู่ผลการค้นหาในอันดับแรก หากผู้คนเริ่มเปลี่ยนไปใช้แช็ตบอตกันมากขึ้น เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินจะได้รับความนิยมน้อยลง และนั่นหมายถึงรายได้ของ Google ก็จะลดลงด้วย


ข้อมูลจาก New York Times เผยว่า Google ได้ประกาศให้ ChatGPT ติดรหัสแดง (Code Red) ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทและต้องได้รับการจัดการอย่างเร่งด่วน (หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นภัยคุกคามต่อบริษัท) รวมถึงฝ่ายบริหารของ Google ยังได้เรียกประชุมทีมพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อระดมความคิดหาหนทางรับมือกับแช็ตบอตน้องใหม่นี้



AI ของ Google ฉลาดกว่าหรือไม่ ?


หากย้อนกลับไปในช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมา คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของ แลมดา (LaMDA) แช็ตบอตที่พัฒนาโดย Google ซึ่งเน้นการสนทนาตอบโต้กับผู้ใช้ได้อย่างหลากหลาย สามารถอ้างอิงข้อเท็จจริงของข้อมูลได้, แบ่งรูปแบบของข้อมูลเป็นรายการ, พรรณนาสถานที่ต่าง ๆ ให้ผู้อ่านเห็นภาพ รวมถึงการพูดคุยตลกขบขันเหมือนการสนทนากับคนจริง ๆ


แน่นอนว่าหลายคนเชื่อว่า LaMDA คือ ตัวแทนของเสิร์ชเอนจินรูปแบบใหม่ ที่ Google กำลังพัฒนามาทดแทนเว็บไซต์แบบดั้งเดิม จะเห็นได้ว่าความสามารถของมันแทบไม่แตกต่างไปจาก ChatGPT อีกทั้ง Google เองเป็นเจ้าของเสิร์ชเอนจินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ข้อมูลของ LaMDA อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า ChatGPT ด้วย



อย่างไรก็ตาม หลังการเปิดตัวทดสอบ LaMDA ไม่นาน ในเดือนมิถุนายนได้มีข้อมูลหลุดมาจากวิศวกรภายในของ Google ซึ่งเผยให้เห็นบทสนทนาระหว่างเขาและ LaMDA รายละเอียดนั้นค่อนข้างน่าสนใจและน่าตกใจในเวลาเดียวกัน


วิศวกรคนดังกล่าวระบุว่า เขาได้ป้อนคำถามบางอย่างให้แก่ LaMDA โดยลักษณะคำถามจะเป็นเรื่องของการถามความรู้สึกหรือความเห็นในเรื่องจริยธรรม ซึ่งคำตอบที่ LaMDA ตอบกลับมานั้นทำให้วิศวกรเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำนี้ กำลังมีความคิดเป็นของตนเอง เช่น กลัวการถูกปิดระบบ หรือกลัวความตาย เป็นต้น นอกจากนี้ เขายังบอกอีกว่ารู้สึกเหมือนกำลังสนทนาอยู่กับเด็ก 7-8 ปีเลยทีเดียว


เหตุใด Google จึงเกรงกลัว ChatGPT จนต้องประกาศสถานะ ภัยคุกคามต่อบริษัท ที่มาของภาพ LaMDA Google

 


ทั้งนี้ วิศวกรดังกล่าวถูกสั่งพักงานหลังนำบทสนทนาออกเผยแพร่ เนื่องจากเป็นความลับภายในของบริษัทที่ไม่ควรนำออกสู่สาธารณะ ส่วนประเด็นที่ว่า LaMDA นั้นมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตนเองจริงหรือไม่ ทาง Google ได้ออกมาปฏิเสธพร้อมบอกว่าหลักฐานเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่ามันมีความรู้สึกนึกคิด


ซึ่งหากพิจารณาถึงขีดความสามารถของ LaMDA แล้ว อาจบอกได้ว่าศักยภาพแช็ตบอตของ Google นั้น ไม่ได้ด้อยไปกว่า ChatGPT จาก OpenAI อย่างแน่นอน เชื่อว่าในเวลานี้ Google คงหาวิธีรับมือไว้เรียบร้อย ไม่แน่ว่าในปี 2023 เป็นต้นไป อาจเข้าสู่โลกในยุคปัญญาประดิษฐ์ก็เป็นได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก 123, 4 


ข่าวแนะนำ