“ความรัก” กับวิทยาศาสตร์ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน ?
ความรัก สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ ตัณหา ความหลงใหล และความผูกพัน โดยแต่ละประเภท เกิดจากชุดของฮอร์โมนในสมองที่แตกต่างกัน
เราแต่ละคนอาจเกิด "เคมี" กับใครก็ได้ แต่ความสัมพันธ์จะไปไกลกว่านั้นไหม ขึ้นอยู่ที่ตัวของเราเอง ไม่ใช่ฮอร์โมน แต่ต่อไปนี้นั้นคือเรื่องราวของ "ความรักกับวิทยาศาสตร์ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน ?"
1. ความรักจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมามากยิ่งขึ้น ซึ่งมันสามารถไปยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้
2. ความรักสามารถกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารสื่อประสาทโดปามีนออกมาได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสารที่จะไปช่วยกระตุ้นศูนย์ความสุขของสมอง
3. ความรักสามารถทำให้ระดับสารเซโรโทนินในร่างกายของเราลดลงได้ ซึ่งสงผลให้เรามีความบ้า ความรู้สึกพอใจ ความมึนงง และความรู้สึกหลงใหลมากยิ่งขึ้น
4. ในช่วง 1 ปีแรกของการมีความรัก ร่างกายจะค่อยๆ ปรับสารเซโรโทนินให้กลับมาสู่ระดับปกติ แต่ฮอร์โมนออกซิโทซินจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวกับความสงบและความรักที่เป็นผู้ใหญ่ โดยฮอร์โมนออกซิโทซินจะช่วยในด้านภูมิคุ้มกันของร่างกาย สามารถทำให้อายุยืนยาวมากขึ้น หัวใจวายน้อยลง ภาวะซึมเศร้าน้อยลง และมีอัตราการรอดชีวิตจากการผ่าตัดใหญ่และมะเร็งสูงขึ้น
5. ความรัก สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ ตัณหา ความหลงใหล และความผูกพัน โดยแต่ละประเภท เกิดจากชุดของฮอร์โมนในสมองที่แตกต่างกัน
6. ตัณหา เกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส ไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเพศ เทสโทสเตอโรน และเอสโตรเจนจากอัณฑะและรังไข่ให้สูงขึ้น
7. ความหลงใหล เกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส ไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนโดปามีน ซึ่งปกติเป็นสารที่จะผลิตออกมาอยู่แล้ว เมื่อเราทำในสิ่งที่รู้สึกดี และโดปามีนยังไปกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนนอเรพิเนฟริน สารที่จะทำให้เรารู้สึก เวียนหัว กระปรี้กระเปร่า ความร่าเริง ความอยากอาหารที่น้อยลง และการนอนไม่หลับให้สูงมากขึ้น
8. ความผูกพัน เกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส ไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนออกซิโทซิน หรือฮอร์โมนแห่งการกอด โดยฮอร์โมนนี้จะถูกสร้างออกมามากตอนมีเพศสัมพันธ์ ให้นมลูก และคลอดบุตร
ข้อมูลจาก The Harvard Gazette และ SITN Science in The news
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67