TNN นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน

TNN

Tech

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน

นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน

โดรนที่บินไปมาบนท้องฟ้า สามารถกินได้ !! ฟังไม่วผิดครับ เพราะล่าสุดมีการพัฒนาโดรนที่สามารถให้ผู้ประสบภัยกินได้จริง ๆ รวมถึงแนวคิดนี้ช่วยเพิ่มความสามารถในการขนส่งอาหารขึ้นอีกร้อยละห้าสิบ

ปัจจุบันมีการใช้โดรนสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้โดรนสอดส่องหาผู้รอดชีวิต หรือใช้โดรนขนส่งอาหารและอุปกรณ์รักษา แต่ล่าสุดมีนักวิจัยที่ออกไอเดียล้ำไปอีกขั้น ด้วยการพัฒนาโดรนกินได้ บินไปจอดเป็นเสบียงให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่เข้าถึงยากได้มากขึ้น


นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน ภาพจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne – EPFL

 

โดรนส่วนใหญ่ขนของได้เพียง 30%

ปกติแล้วโดรนขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ จะสามารถบรรทุกสินค้าเช่นอาหารและยาได้ประมาณ 30% ของมวลทั้งหมด ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน จึงได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาโดรนที่ตัวปีกสามารถกินได้ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งอาหารให้เพิ่มเป็น 50% 


โดยนักวิจัยได้ใช้ ข้าวพองอัด มาทำเป็นปีกของโดรนที่กินได้ เนื่องจากข้าวพองอัดมีความแข็งแรง เกาะตัวกันได้ดี แต่มีน้ำหนักเบา และยังราคาย่อมเยา ทำได้ง่าย อีกทั้งโครงสร้างของมันยังง่ายต่อการตัดด้วยเลเซอร์ และในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวพองอัดยังให้แคลอรี่ได้มากถึง 3,870 กิโลแคลอรีต่อข้าวพองอัดหนึ่งกิโลกรัม จึงเหมาะสำหรับทำเป็นอาหารประทังชีวิตในยามฉุกเฉิน


นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน ภาพจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne – EPFL


โดยขั้นตอนแรกในการสร้างปีกคือ การตัดข้าวพองด้วยเลเซอร์เป็นรูปหกเหลี่ยมเพื่อให้ต่อกันได้ง่าย จากนั้นเชื่อมทุกส่วนเข้าด้วยกัน ด้วยกาวที่ทำจากเจลาติน และเมื่อทุกอย่างแห้งแล้ว ตัวปีกก็จะถูกห่อด้วยพลาสติกและเทปอีกชั้น เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่สลายตัวในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น 


นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน ภาพจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne – EPFL

 

ขนาดปีกข้าวพองอัด คัดมาอย่างดีเพื่อโภชนาการที่เหมาะสม

ส่วนขนาดของปีกก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับความต้องการด้านโภชนาการ โดยในกรณีนี้ ออกแบบปีกกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร จะได้ข้าวพองและกาวเจลาตินมากพอที่จะให้พลังงานถึง 300 กิโลแคลอรี หรือเทียบเท่าอาหารเช้าหนึ่งมื้อ


นักวิทยาศาสตร์พัฒนาโดรนกินได้ หวังใช้เป็นเสบียงช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉิน ภาพจาก Swiss Federal Institute of Technology Lausanne – EPFL

และถึงแม้ว่านี่จะเป็นเพียงต้นแบบ แต่โดรนที่กินนี้ ยังสามารถบินได้จริงอีกด้วย โดยทำความเร็วได้ประมาณ 10 เมตรต่อวินาที ส่วนรสชาติ ผู้พัฒนากล่าวว่าโดรนมีรสชาติ เหมือนคุกกี้ข้าวกรุบกรอบ แต่ตอนนี้ยังไม่มีการเพิ่มแต่งกลิ่นและรสชาติเข้าไปแต่อย่างใด  


โดยขั้นตอนต่อไปนักวิจัยจะหาทางพัฒนาให้ชิ้นส่วนที่กินไม่ได้ เช่นบริเวณกลางลำตัวที่บรรจุมอเตอร์ ทำมาจากวัสดุที่กินได้ รวมถึงหาวิธีบรรทุกสิ่งจำเป็นอื่น ๆ เช่นน้ำ ยา หรือแท่งโปรตีน ให้ได้มากขึ้นอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก

spectrum.ieee

goodnewsnetwork

ข่าวแนะนำ