TNN ตอนที่ 7 APEC 2022 ผลักดันเศรษฐกิจยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี ผ่านโมเดล BCG

TNN

Tech

ตอนที่ 7 APEC 2022 ผลักดันเศรษฐกิจยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี ผ่านโมเดล BCG

ตอนที่ 7 APEC 2022 ผลักดันเศรษฐกิจยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี ผ่านโมเดล BCG

เวทีการประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก โมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ติดตามตัวอย่างการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง BCG โมเดล

การประชุมเอเปค 2022 หรือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้มีการนำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ  Bio-Circular-Green โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว มาใช้เป็นแนวทางหลักของการหารือ นอกจากนี้ ยังถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ภาครัฐพยายามผลักดันเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจทั้ง 3 มิตินี้ สำเร็จได้ คือ การนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ ตัวอย่างเช่น

 

1) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ “Bio economy” ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ตัวอย่าง

 

เช่น การดำเนินธุรกิจของ True 5G ที่มีโซลูชันสำหรับพัฒนานวัตกรรมด้านการทำฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Farm Automation Solution ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของฟาร์ม เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อข้อมูลจากทุกระบบ เช่น ข้อมูลการให้อาหาร ข้อมูลการขนส่งลูกไก่ไปฟาร์มเพาะพันธุ์ ข้อมูลสภาพแวดล้อมในโรงเรือน และหุ่นยนต์กลับแกลบ วัสดุรองพื้นที่คอยซับของเสียจากไก่ เข้ามามาใช้ควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนปศุสัตว์ให้เหมาะสม ปลอดเชื้อ ผ่านเทคโนโลยี 5G ที่จะทำให้การส่งข้อมูลความละเอียดสูง ขนาดใหญ่ทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยเกษตรกรรุ่นใหม่ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค และเสริมประสิทธิภาพผลผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ

 

การใช้เทคโนโลยีด้านชีวภาพของ ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) ที่ใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และวางแผนการผลิต / ระบบฟาร์มอัจฉริยะ  Smart Farming ที่มีการใช้เซนเซอร์วัดปริมาณอาหารและระบบแสดงข้อมูลของโรงเลี้ยงไก่ และกล้องวัดน้ำหนักไก่ รวมถึงการนำของเสียมาแปรเป็นพลังงาน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียนไปในตัวด้วย

 

ขณะที่ 2) โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน “Circular Economy” จะเป็นการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และลดขยะเหลือทิ้ง

 

ตัวอย่าง เช่น ห้างสรรพสินค้าโลตัส ที่ตั้งเป้าหมายขยะอาหารเป็นศูนย์ ภายในปี 2030 ด้วยการใช้กระบวนการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือกลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork)

 

ซึ่งในส่วนของ ต้นน้ำ จะมีการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากแหล่งเพาะปลูกของเกษตรกร และได้ร่วมกันสร้างโรงแพ็กหรือบรรจุใกล้กับแหล่งปลูก เพื่อยืดอายุความสดของผลิตภัณฑ์ได้กว่า 10 ชั่วโมง

 

ส่วน กลางน้ำ จะเป็นการขนส่งที่ใช้เทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งช่วยลดปริมาณการสูญเสียผลผลิตได้ถึง 2%

 

และสุดท้าย ปลายน้ำ ก็คือ การบริโภค โดยผลผลิตที่อยู่ภายในห้างสรรพสินค้าถูกจัดวางอย่างเหมาะสม  ไม่ทิ้งอาหารโดยไม่จำเป็น มีการนำอาหารส่วนเกินบางส่วน ไปทำการแปรรูปเป็นอาหารพร้อมทาน และอาหารบางส่วนที่ต้องทิ้ง จะมีระบบเปลี่ยนอาหารเสียให้กลายเป็นปุ๋ยชีวภาพ ลดการสูญเสียของอาหารได้มากขึ้น

 

ส่วนโมเดลการดำเนินธุรกิจแบบที่สาม ก็คือ 3) โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุภาวะโลกร้อน

 

ตัวอย่าง เช่น  ซีพี ออลล์ ที่มีแนวคิดระบบค้าปลีกอัจฉริยะ Smart Retail ใช้อุปกรณ์ IoT ตรวจสอบความผิดปกติต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ กระแส ไฟฟ้า ภายในร้าน เพื่อให้ทราบสถานะการ ทํางานแบบ Real time และเข้าแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ซึ่งหากมีความผิดปกติ จะแจ้งเตือนไปที่ส่วนกลาง ก่อนที่เครื่องอุปกรณ์จะเสีย ช่วยลดการสูญเสีย ตอบสนองธุรกิจได้อย่างไม่ขาดช่วง ช่วยประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อน และแปรเป็น Carbon credit หรือ สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถวัดปริมาณและนำไปซื้อขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้

 

หรืออีกตัวอย่าง คือ การสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยบริษัท Altervim ที่มุ่งเป้าใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น ในกลุ่มห้างสรรพสินค้า หรือ กลุ่มเกษตรกรผู้ทำฟาร์ม


ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ของการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์คือ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบดั้งเดิม อย่าง ถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สอดรับไปกับแนวคิด BCG ที่ไทยพยายามผลักดันเป็นหัวข้อหลักของการเป็นเจ้าภาพ การประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2022 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565 นี้



เกาะติดการประชุมผู้นำเอเปค 2022 

รวดเร็ว รู้ลึก ก่อนใคร ครบทุกนโยบายสำคัญ 

วันที่ 14-19 พฤศจิกายนนี้ 

ติดตามได้ทั้งทางสถานีโทรทัศน์ TNN ช่อง 16 และทรูวิชั่นส์ ช่อง 777

หรือรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้ที่

Website : https://bit.ly/apec2022

Line: https://lin.ee/LdHJXZt

Youtube : https://bit.ly/TNNWorldTodayYouTube

TikTok : https://bit.ly/TNNWorldTikTok


ข่าวแนะนำ