Twitter ถูกพนักงานร่วมกันยื่นฟ้องข้อหาละเมิดกฎหมายแรงงานและการเลิกจ้าง
Twitter ถูกพนักงานร่วมกันยื่นฟ้องข้อหาละเมิดกฎหมายแรงงานและการเลิกจ้าง
การเข้าซื้อกิจการบริษัท ทวิตเตอร์ (Twitter) ของอีลอน มัสก์ ยังคงกลายเป็นประเด็นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพนักงานจำนวนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างภายหลังการอีลอน มัสก์เข้าทำงานในบริษัทได้ยื่นฟ้องดำเนินคดีกับบริษัท ทวิตเตอร์ (Twitter) กับศาลรัฐบาลกลางของซานฟรานซิสโก ในข้อหาละเมิดกฎหมายแรงงานและการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม
รายละเอียดของกฎหมายแรงงานสหรัฐอเมริการะบุเอาไว้ว่าบริษัทที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนขึ้นไปจะต้องแจ้งต่อพนักงานก่อนทำการเลิกจ้างล่วงหน้า 60 วัน และต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด
รายงานจากสื่อต่างประเทศ The New York Times ระบุว่า อีลอน มัสก์ได้มีการปรับองค์กรโดยเลิกจ้างพนักงานเกือบครึ่งหนึ่งของบริษัท พนักงานบางส่วนได้รับคำสั่งให้ทำงานจากที่บ้านและหากถูกเลิกจ้างจะมีอีเมลส่งมาอธิบายรายละเอียดการเลิกจ้าง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพนักงานหลายคนถูกล็อกไม่ให้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กและถูกปิดกั้นบัญชีผู้ใช้งาน Slack โปรแกรมแชตพูดคุยภายในบริษัท
กระแสข่าวอีลอน มัสก์ต้องการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากกว่า 50% ออกจากบริษัท ทวิตเตอร์ (Twitter) มีอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานกว่า 3,700 คน ซึ่งนั้นหมายความว่าอาจมีคนต้องตกงานมากกว่า 1,500 คน
ก่อนหน้านี้อีลอน มัสก์ ได้ทำการไล่ CEO และ CFO ของบริษัท พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนหนึ่งออกจากบริษัทแบบฟ้าผ่ามาแล้ว นอกจากนี้ยังนำเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งจากบริษัท เทสลา (Tesla) เข้าทำงานแทนในหลายตำแหน่ง อย่างไรก็ตามบริษัทยืนยันว่าการไล่พนักงานออกเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายและบริษัทกำลังพิจารณาเงินค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างประมาณ 60 วัน จากฐานเงินเดือนพนักงาน
ที่มาของข้อมูล engadget.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67