รู้จักกลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอ แอร์บัสเตรียมส่ง 2 ดวง สุดท้ายในปลายปีนี้
รู้จักกลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอ (Pléiades Neo) ที่แอร์บัส (Airbus) เป็นทั้งเจ้าของ, ผู้ผลิต และผู้ปฏิบัติการ ซึ่งจะมีการปล่อยดาวเทียม 2 ดวง สุดท้ายใน 23 พฤศจิกายน 2022 ที่จะถึงนี้
หากพูดถึงแอร์บัส (Airbus) หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงบริษัทผลิตเครื่องบิน แต่รู้หรือไม่ว่า แอร์บัสเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์มากว่า 30 ปี ในฐานะผู้ปฎิบัติการดาวเทียม ซึ่งดาวเทียมที่กำลังได้รับการดำเนินการอยู่ก็คือ กลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอ (Pléiades Neo) ที่แอร์บัสเป็นทั้งเจ้าของ, ผู้ผลิต และผู้ปฏิบัติการ ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของแอร์บัสในรอบปี ด้วยทุนประมาณ 26,000 ล้านบาท
ปัจจุบันดาวเทียมในกลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรผ่านขั้วโลก (Polar Orbit) และวงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit) แล้ว 4 ดวง โดยดาวเทียม 2 ดวง สุดท้ายในกลุ่มจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2022 นี้ ภายหลังจากผ่านการทดสอบขั้นสุดท้ายในห้องคลีนรูมที่ตูลูส
ความละเอียดระดับ 30 เซนติเมตร
สำหรับกลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอจัดเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกที่มีความละเอียดสูง (Very High Resolution: VHR) ด้วยความละเอียดที่ระดับ 30 เซนติเมตร และมีขอบเขตการถ่ายภาพที่กว้างถึง 14 กิโลเมตร นับเป็นขอบเขตที่กว้างที่สุดในบรรดาดาวเทียมประเภทเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยสามารถครอบคลุมทวีปทั้งหมดของโลกได้ถึง 5 ครั้ง ใน 1 ปี และใช้งานได้แม้ในละติจูดที่ต่ำกว่า 40 องศา ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะถูกนำไปใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในเชิงพาณิชย์
โดยประมาณข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้รับในแต่ละวันเกือบ 2 ตารางล้านกิโลเมตร จะถูกส่งไปยังศูนย์ภาคพื้น ซึ่งเป็นนวัตกรรมบนพื้นฐานของคลาวน์ (Cloud) เพื่อประมวลผลข้อมูล
การเชื่อมต่อกับดาวเทียมนอกกลุ่ม
อย่างไรก็ตาม กลุ่มดาวเทียมเปลยาด นีโอไม่เพียงเชื่อมต่อกันเองเท่านั้น แต่ยังเชื่อมต่อกับดาวเทียมค้างฟ้าแอร์บัส สเปซดาต่าไฮเวย์ (Airbus SpaceDataHighway) ด้วยออปติคอลเลเซอร์ (Optical Laser) และย่านความถี่เคเอ แบนด์ (Ka band) ที่ใช้ระบบยูโรเปียน ดาต้า รีเรย์ ซิสเต็ม (European Data Relay System หรือ EDRS) เพื่อให้สามารถเข้าถึงตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างเร่งด่วนภายในเวลาที่น้อยกว่า 40 นาที หลังจากได้รับคำสั่ง เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เร่งด่วน
ข้อมูลและภาพจาก www.airbus.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67