TNN นักวิทยาศาสตร์พัฒนา "แจ็กเก็ตล่องหน" เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง

TNN

Tech

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา "แจ็กเก็ตล่องหน" เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง

นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง

แฟน ๆ แฮรี่พอตเตอร์ น่าจะเคยได้ยินไอเดียผ้าคลุมล่องหนกันมาบ้าง ล่าสุดไอเดียจากนิยายนี้อาจจะกลายเป็นจริง เมื่อมีทีมวิจัยที่พัฒนาแจ็กเก็ตล่องหนจากการจับความร้อนได้ และจะต่อยอดให้ล่องหนได้เต็มตัวในอนาคต

อีกไม่นาน "ผ้าคลุมล่องหน" ที่เคยได้ยินกันในภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ อาจจะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ เมื่อมีทีมนักวิทยาศาสตร์จากแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังในสหราชอาณาจักร ที่เริ่มพัฒนาเสื้อแจ็กเก็ตล่องหนขึ้นมาจริง ๆ โดยเบื้องต้นสามารถพรางตัวจากการตรวจจับความร้อนได้ และอาจจะต่อยอดไปเป็นการล่องหนได้เต็มตัวในอนาคต


นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง ภาพจาก Vollebak

ต้นแบบของเสื้อล่องหนหนีการตรวจจับความร้อน 

ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก วอลเลบัค (Vollebak) แบรนด์เสื้อผ้าที่เน้นการออกแบบโดยผสานแนวคิดวิทยาศาสตร์ ร่วมกันกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ใช้เวลา 3 ปีในการพัฒนาเสื้อแจ็กเก็ตที่เบื้องต้น เมื่อสวมใส่แล้วก็สามารถทำให้กล้องอินฟาเรด หรือกล้องถ่ายภาพความร้อนตรวจจับไม่ได้ 


นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง ภาพจาก Vollebak

 ความลับอยู่ที่ "กราฟีน"

ความลับของเสื้อตัวนี้ อยู่ที่การใช้ กราฟีน ซึ่งเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่น โปร่งใส และนำไฟฟ้าได้สูงมาประกอบ โดยตัวแจ็กเก็ตจะติดแผ่นกราฟีน 42 ชิ้น แต่ละชิ้นกว้าง 5x5 เซนติเมตร และประกอบด้วยกราฟีนบริสุทธิ์ 100 ชั้น นำมาร้อยต่อกันเป็นแผงทั่วทั้งเสื้อ และในกราฟีนแต่ละแผ่น จะมีการเชื่อมต่อสายไฟสีทองและทองแดงไว้ด้านใน พร้อมตัวควบคุมขนาดเล็ก รองรับคำสั่งผ่านคอมพิวเตอร์ 


นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง ภาพจาก Vollebak

 โดยทีมวิจัยตั้งค่าโปรแกรม ให้สามารถควบคุมการแผ่รังสีความร้อนบนพื้นผิวของแจ็คเก็ต ผ่านกราฟีนแต่ละชิ้นแบบแยกกันได้โดยไม่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ทำให้สามารถพรางตัวจากการตรวจจับของกล้องอินฟราเรดได้นั่นเอง


นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง ภาพจาก Vollebak

 

ทีมวิจัยมองว่าเสื้อล่องหนมาแน่ในอีก 10 ปี

อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ก็ยังต้องมีการพัฒนาต่อไป ทีมวิจัยระบุว่า การทำให้มนุษย์รอดจากการโดนตรวจจับความร้อนได้ อาจจะเป็นจุดแรกของการสร้างเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ล่องหนได้จริง ๆ และคิดว่าภายใน 10 ปี บริษัทน่าจะสร้างแจ็กเก็ตล่องหนออกมาวางจำหน่ายได้สำเร็จ และอาจจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาวัสดุให้เครื่องบินล่องหนได้ด้วย


นักวิทยาศาสตร์พัฒนา แจ็กเก็ตล่องหน เทคโนโลยีจากนิยายที่ใกล้กลายเป็นจริง ภาพจาก Vollebak

 สำหรับแบรนด์ วอลเลบัค (Vollebak) เป็นแบรนด์เสื้อผ้าในสหราชอาณาจักร ที่เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์เป็นผลงานที่แปลกใหม่ โดยตัวอย่างผลงานที่ผ่านมา เช่น เสื้อแจ็กเก็ตชาร์จพลังแสงอาทิตย์ เสื้อยืดทำจากสาหร่ายที่เป็นปุ๋ยได้ใน 12 สัปดาห์ และเสื้อฮู้ดที่อยู่ได้นานกว่า 100 ปี



ขอบคุณข้อมูลจาก

nypost

vollebak

wired

ข่าวแนะนำ