บรูซ วิลลิส ขายใบหน้าตัวเองให้กับบริษัทด้านเทคโนโลยี Deepfake
ก่อนหน้านี้บรูซ วิลลิส ถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคทางสมองมีปัญหาในด้านการสื่อสารซึ่งผลต่ออาชีพนักแสดง
บรูซ วิลลิส ยังโลดแล่นในวงการบันเทิงด้วย Deepfake
วงการบันเทิงในโลกอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงและนำเทคโนโลยีดีปเฟก (DeepFake) เข้ามาใช้งานมากขึ้น บรูซ วิลลิส นักแสดงชื่อดังชาวสหรัฐอเมริกาประกาศขายใบหน้าตัวเอง หรือ สิทธิตัวตนดิจิทัลให้กับบริษัท ดีปเค้ก (Deepcake) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จำลองใบหน้าได้แบบเสมือนจริง โดยบริษัทอ้างว่าสามารถใช้ทดแทนการแสดงโดยนักแสดงที่เป็นมนุษย์ได้
ก่อนหน้านี้บรูซ วิลลิส ถูกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคทางสมองมีปัญหาในด้านการสื่อสาร ซึ่งผลต่ออาชีพนักแสดงและเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาประกาศยุติอาชีพนักแสดงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) การจำลองใบหน้าด้วยปัญญาประดิษฐ์เรายังคงเห็นบรูซ วิลลิสอยู่ในวงการบันเทิง อย่างเช่นเมื่อไม่นานมานี้บรูซ วิลลิสได้รวมแสดงในโฆษณาชุดทั้งหมด 15 ตอน โดยใช้ใบหน้าปลอมของตัวเองที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ (AI)
และต่อจากนี้ ผลงานการโฆษณาและผลงานอื่น ๆ ที่จะปรากฎใบหน้าของบรูซ วิลลิสในอนาคตนั้นจะเป็นใบหน้าที่มอบสิทธิ์การใช้งานให้กับบริษัทดีปเค้ก (Deepcake) ทั้งหมด
สถานการณ์เทคโนโลยี Deepfake ในปัจจุบัน
ปัจจุบันเทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในด้านประสิทธิภาพที่จำลองใบหน้ามนุษย์ในแบบเสมือนจริงจนไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างใบหน้ามนุษย์และใบหน้าที่สร้างจากดีปเฟก (Deepfake) นอกจากประโยชน์ที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีนำไปสู่ความกลัวเกี่ยวกับการใช้งานในทางที่ผิด เช่น การปลอมใบหน้าของบุคคลอื่นเพื่อหลอกลวงและแสวงหาผลประโยชน์ การใช้งานในทางที่ผิดด้านการเมืองเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม
เทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 2017 เบื้องหลังการสร้างภาพใบหน้าเสมือนจริงนี้เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ใช้การประมวลผลภาพวิดีโอและภาพถ่ายในมุมมองต่าง ๆ จำนวนมากเพื่อสร้างเป็นภาพเคลื่อนไหว ส่วนเสียงพูดถูกตัดแต่งและใส่เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับจังหวะการขยับปากของใบหน้าดีปเฟก (Deepfake) นอกการพัฒนาเทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทีมนักวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าปลอมดีปเฟก (Deepfake) ขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อรับประกันว่าจะสามารถตรวจสอบและคัดกรองเทคโนโลยีดีปเฟก (Deepfake) ได้ในอนาคต
ที่มาข้อมูล Engadget, Deepcake
ที่มารูปภาพ Reuter
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67