ยานสำรวจ Tianwen 1 ของจีนพบหลักฐานการมีอยู่ของมหาสมุทรโบราณบนดาวอังคาร
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการมีอยู่ของธาตุไฮเดรตในชั้นแร่หินแข็ง (Duricrust) บนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งโดยปกติมักเกิดจากการระเหยของน้ำใต้ดิน
ยานสำรวจเทียนเหวิน (Tianwen-1) ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ส่งข้อมูลที่เป็นหลักฐานการมีอยู่ของมหาสมุทรโบราณบนดาวอังคาร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการมีอยู่ของธาตุไฮเดรตในชั้นแร่หินแข็ง (Duricrust) บนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งโดยปกติมักเกิดจากการระเหยของน้ำใต้ดิน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่าพื้นผิวดาวอังคารเคยมีกิจกรรมของน้ำที่เป็นของเหลวในช่วงหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์ยังระบุด้วยว่าลักษณะดินบนดาวอังคารมีแรงรับน้ำหนักสูงและมีค่าพารามิเตอร์แรงเสียดทานต่ำซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงการกัดเซาะเนื่องจากลม น้ำ หรือทั้งสองอย่างของมหาสมุทรโบราณบนดาวอังคาร
ยานสำรวจเทียนเหวิน (Tianwen-1) ออกเดินทางจากโลกในวันที่ 23 กรกฎาคม 2020 และเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2021 ยานอวกาศลำนี้ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารในวันที่ 14 พฤษภาคม 2020 พร้อมหุ่นยนต์รถสำรวจซูหรง (Zhurong) หุ่นยนต์รถสำรวจลำดังกล่าวเดินทางบนพื้นผิวดาวอังคารแล้วเป็นระยะทาง 1.9 กิโลเมตร ตลอดภารกิจยานสำรวจเทียนเหวินและหุ่นยนต์รถสำรวจซูหรงส่งข้อมูลการสำรวจต่าง ๆ รวมกัน 1,480 กิกะไบต์ กลับมายังโลก
ปัจจุบันทั้งยานสำรวจเทียนเหวิน (Tianwen-1) และหุ่นยนต์รถสำรวจซูหรง (Zhurong) ยังคงปฏิบัติภารกิจต่อไปดาวอังคารบริเวณ Utopia Planitia ที่ราบขนาดใหญ่บริเวณพื้นผิวดาวอังคารเป็นระยะเวลารวมกันกว่า 790 วัน นอกจากการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารยังมีภารกิจศึกษาชั้นบรรยากาศและโครงสร้างสนามแม่เหล็กของดาวอังคารเพิ่มเติม
ที่มาของข้อมูล space.com
ที่มาของรูปภาพ The China National Space Administration (CNSA)
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67