แมมมอธ (Mammoth) โรงงานดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
บริษัท Climeworks หนึ่งในบริษัทชั้นนำที่พัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้เปิดตัวโรงงานดักจับอากาศแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิมเรียกว่า แมมมอธ (Mammoth)
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกกลายเป็นปัญหาสำคัญที่หน่วยงานรัฐบาลและบริษัทเอกชนกำลังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา ล่าสุดบริษัท Climeworks หนึ่งในบริษัทชั้นนำที่พัฒนาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้เปิดตัวโรงงานดักจับอากาศแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิมเรียกว่า แมมมอธ (Mammoth)
โรงงานแมมมอธ (Mammoth) มีลักษณะเป็นโรงงานดักจับทางอากาศโดยตรง (DAC) แห่งที่ 2 ในประเทศไอซ์แลนด์ โรงงานมีขีดความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศในอากาศได้มากถึง 36,000 ตันต่อปี นับได้ว่าเป็นโรงงานดักจับอากาศที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก
ก่อนหน้านี้บริษัท Climeworks ประสบความสำเร็จในการทดสอบใช้งานโรงงานดักจับอากาศแห่งที่ 1 ในประเทศไอซ์แลนด์ ชื่อว่าออการ์ (ORCA) สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้มากถึง 4,000 ตันต่อปี นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญที่กลายเป็นพื้นฐานให้กับโรงงานแมมมอธ (Mammoth)
เทคโนโลยีภายในโรงงานดักจับอากาศที่บริษัทพัฒนาขึ้นเรียกว่าโรงงานดักจับทางอากาศโดยตรง (DAC) ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 2009 ก่อนมีการก่อสร้างโรงงานนำร่องเพื่อทดสอบการใช้งานจริงในปี 2017 บริเวณโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้ดิน “ON Power's Hellisheidi” ในประเทศไอซ์แลนด์ หลักจากทดสอบเครื่องต้นแบบสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 12.5 ตันภายในเวลา 3 เดือน
โรงงานดักจับทางอากาศโดยตรง (DAC) มีกระบวนการเริ่มต้นจากพัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่ดูดอากาศผ่านตัวกรองความร้อนเพื่อแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และส่งต่อไปตามท่อเข้าสู่เครื่องผสมก๊าซเข้ากับน้ำและถูกส่งต่อไปยังใต้ดิน น้ำที่ได้รับการผสมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยากับหินบะซอลต์กลายเป็นคาร์บอเนตและถูกจัดเก็บไว้ใต้ดิน
บริษัท Climeworks คาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างโรงงานแมมมอธ (Mammoth) ประมาณ 18-24 เดือน ก่อนเปิดดำเนินการเพื่อดักจับอากาศ แม้จะเป็นความพยายามของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและดูเหมือนขีดความสามารถของโรงงานคงไม่อาจเทียบได้กับขนาดโลกทั้งใบและปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 30 พันล้านตันในแต่ละปีจากกิจกรรมของมนุษย์ แต่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมของโลก
ที่มาของข้อมูล newatlas.com
ที่มาของรูปภาพ climeworks.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67