TNN เริ่มทดสอบต้นแบบคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะกับดวงตามนุษย์เป็นครั้งแรก

TNN

Tech

เริ่มทดสอบต้นแบบคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะกับดวงตามนุษย์เป็นครั้งแรก

เริ่มทดสอบต้นแบบคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะกับดวงตามนุษย์เป็นครั้งแรก

คอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะติดตั้งระบบการสื่อสารแบบไร้สาย หน้าจอแสดงผลแบบ MicroLED ขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 0.02 นิ้ว

โมโจ วิชัน (Mojo Vision) หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำด้านการพัฒนาคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะเริ่มทำการทดสอบคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะดังกล่าวกับดวงตาของมนุษย์ โดยซีอีโอดรูว์ เพอร์คินส์ (Drew Perkins) ทดสอบการใช้งานด้วยตัวเองและเขากลายเป็นมนุษย์คนแรกที่ใช้งานคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะเทคโนโลยีที่อาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในอนาคต การทดสอบครั้งนี้มีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมาภายในห้องทดลองของบริษัทโมโจ วิชัน (Mojo Vision) เมืองซาราโตกา รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


บริษัทเอกชนแห่งนี้เปิดเผยโครงการพัฒนาคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะครั้งแรกในปี 2015 จุดเด่นของเทคโนโลยีที่บริษัทพัฒนาขึ้น คือ คอนแทคเลนส์ติดตั้งแผงวงจรขนาดเล็กและมันถูกวางครอบบนดวงตาของผู้ใช้งาน โดยคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะจะมีชิ้นส่วนของหน้าจอแสดงผลแบบ MicroLED ขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 0.02 นิ้ว ความละเอียด 14,000 พิกเซลต่อนิ้ว


คอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะติดตั้งระบบการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้โปรเซสเซอร์ระบบประมวลผล ARM Core M0 5 GHz (กิกะเฮิร์ทซ์) เครื่องวัดสนามแม่เหล็กติดตามการเคลื่อนไหวของดวงตามผู้สวมใส่ด้วยความแม่นยำสูงซึ่งระบบดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากต่อการแสดงที่ถูกต้องบนดวงตาของผู้ใช้งาน


ระบบแบตเตอรี่พลังงานไฟฟ้าถูกย่อส่วนและติดตั้งเอาไว้บริเวณวงแหวนรอบนอกของคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะจัดเก็บและปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เข้าสู่วงจรไฟฟ้าทั้งหมดบนตัวคอนแทคเลนส์ สำหรับในเวอร์ชันเสร็จสมบูรณ์บริษัทผู้พัฒนายืนยันว่าแบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอนแทคเลนส์ได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนระบบการชาร์จพลังงานไฟฟ้าเป็นรูปแบบไร้สาย


ตามแผนการของบริษัทนอกจากคอนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะจะถูกใช้งานเพื่อแสดงข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ บนดวงตาของผู้ใช้ เช่น นักกีฬาสามารถมองเห็นข้อมูลการฝึกของตัวเองเพื่อพัฒนารูปแบบและจำนวนการฝึก อนแทคเลนส์ AR อัจฉริยะมันยังถูกออกแบบให้ช่วยแก้ปัญหาการมองเห็นที่ไม่ชัดเจนของผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์รอบด้านและสามารถช่วยแก้ไขปัญหาของมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม



ที่มาของข้อมูล newatlas.com 

ที่มาของภาพ mojo.vision 

ข่าวแนะนำ