TNN พลาสติกชีวภาพสกัดจากเมล็ดวานิลาย่อยสลายได้ด้วยแสงยูวี

TNN

Tech

พลาสติกชีวภาพสกัดจากเมล็ดวานิลาย่อยสลายได้ด้วยแสงยูวี

พลาสติกชีวภาพสกัดจากเมล็ดวานิลาย่อยสลายได้ด้วยแสงยูวี

นักวิทยาศาสตร์ใช้สารอินทรีย์ในเมล็ดวานิลลาสร้างพลาสติกชีวภาพรูปแบบใหม่มีคุณสมบัติดูดซับแสงยูวีความยาวคลื่น 300 นาโนเมตร

ปัจจุบันมีการใช้งานพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ และกลายเป็นขยะจำนวนมากปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพรูปแบบใหม่ใช้สารสกัดจากเมล็ดวานิลลาที่มีความเหนียวทนทานตลอดอายุการใช้งานและสามารถย่อยสลายตัวเองได้โดยการใช้ความยาวคลื่นเฉพาะของแสงยูวี


ก่อนหน้านี้เมล็ดวานิลลาถูกนำมาใช้เพื่อแต่งกลิ่นรสชาติของอาหาร และสารอินทรีย์ในเมล็ดยังมีคุณสมบัติทางเคมีในการกำจัดวัชพืช เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด รวมไปถึงผลงานการวิจัยล่าสุดที่สกัดสารอินทรีย์เพื่อนำมาใช้ผลิตพลาสติกชีวภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


นักวิทยาศาสตร์ใช้สารอินทรีย์ในเมล็ดวานิลลาเป็นส่วนประกอบเพื่อเชื่อมต่อพอลิเมอร์ (Polymer) เป็นพลาสติกชีวภาพรูปแบบใหม่มีคุณสมบัติดูดซับแสงยูวีความยาวคลื่น 300 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวคลื่นเฉพาะของแสงยูวีที่ไม่อยู่ในสเปกตรัมของแสงแดดจากดวงอาทิตย์ปกติเพื่อลดโอกาสที่พลาสติกชีวภาพจะได้รับความเสียหายเมื่อถูกใช้งานในชีวิตประจำวัน 


สำหรับกระบวนการจำกัดและย่อยสลายพลาสติกชีวภาพรูปแบบใหม่นี้ใช้วิธีการฉายแสงยูวีความยาวคลื่น 300 นาโนเมตร ตามคุณสมบัติข้างต้นเพื่อให้อนุพันธ์ของสารอินทรีย์จากเมล็ดวานิลลาเกิดปฏิกิริยาเคมีกระตุ้นการเสื่อมสภาพของพอลิเมอร์ (Polymer) เกิดการเสื่อมสภาพ นอกจากนี้ในกระบวนการย่อยสลายพลาสติกชีวภาพดังกล่าวยังสามารถนำสารประกอบโมโนเมอร์ประมาณ 60% มาใช้สร้างพอลิเมอร์ เพื่อนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลสำหรับการสร้างพลาสติกชีวภาพใหม่


รายงานการวิจัยเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ onlinelibrary.wiley.com โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารชีวมวลจากธรรมชาติ


ที่มาของข้อมูล newatlas.com

ที่มาของรูปภาพ pixabay.com 

ข่าวแนะนำ