เด็ก ม.ปลาย สร้างเครื่องวัดสนามแม่เหล็กโลกได้สำเร็จ
เด็ก ม.ปลาย ชาวโปรตุเกส 3 คน ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ สร้างแผนที่สนามแม่เหล็กของโลกออกมา
เด็ก ม.ปลาย ชาวโปรตุเกส 3 คนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ ตรวจวัดสนามแม่เหล็กของโลกจากสถานีอวกาศนานาชาติได้สำเร็จ ระบบตรวจสอบดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยการติดตั้งโปรแกรมส่วนเสริมเล็ก ๆ ที่ราคาไม่แพงเข้าไป
ส่วนเสริมนี้ที่ติดตั้งเข้ากับเครื่องคอมของเด็ก ๆ นี้ มีชื่อเรียกว่า Sense Hat เป็นเครื่องสำหรับใช้วัดค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก อีกทั้งยังได้ทำการติดตั้งไจโรสโคป, มาตรวัดความเร่ง, เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความดันและความชื้น อย่างไรก็ตามการติดตั้ง Sense Hat จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากลายเป็นเครื่องตรวจสอบโลกได้
โครงการของเด็กมีชื่อว่า "Modeling the Earth's magnetic field" หรือ "การสร้างแบบจำลองสนามแม่เหล็กโลก" ดำเนินการโดยเด็ก 3 คน ลอเรนโซ ฟาเรีย (Lourenço Faria), แบร์นาร์โด อัลเวส (Bernardo Alves), มิเกล ซิมบรอน (Miguel Cymbron), และครูที่ปรึกษานูโน บาร์รอส อิซา (Nuno Barros e Sá) เป็นโครงการที่ถูกส่งเข้าไปแข่งขันในรายการ RaspberryPi Foundation จัดขึ้นโดยองค์กร European Space Agency ที่จับมือกับมูลนิธิ Raspberry Pi ของสหราชอาณาจักร มีธีมจัดงานในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ Raspberry Pi ที่ใช้บนสถานีอวกาศนานาชาติมาใช้ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่มีคุณค่าในด้านวิทยาศาสตร์ออกมาให้ได้
สถานีอวกาศจะทำการรับข้อมูลสนามแม่เหล็กโลก เพื่อนำมาสร้างแผนที่สนามแม่เหล็กของโลก ซึ่งผลงานของเด็ก ๆ ก็สามารถสร้างแผนที่ดังกล่าวออกมาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเช่นกัน ช่วยลดระยะเวลาในการอัปเดตข้อมูลแผนที่สนามแม่เหล็กของโลกจากทุก ๆ 5 ปี มาเหลือเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น รวมถึงยังใช้ต้นทุนที่ถูกกว่ามาก เมื่อเทียบกับเครื่องมือที่บนสถานีอวกาศทำ รวมถึงในอนาคตมันอาจถูกทำมาเป็นแอปพลิเคชัน ที่ให้เราวัดเคลื่อนแม่เหล็กโลกได้จากมือของเราโดยตรงอีกด้วย
สนามแม่เหล็กของโลกเรียก มือีกชื่อว่าสนามแม่เหล็กโลก มันเป็นคลื่นที่แผ่ขยายออกไปในอวกาศนับหมื่นกิโลเมตร ก่อตัวกลายเป็นสนามแม่เหล็กของโลก เครื่องวัดค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กแบบฟลักซ์เกตและเครื่องวัดค่าความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กแบบโปรตอนมักจะถูกนำมาใช้เพื่อตรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กโลก จนกระทั่งในปี 2018 นักวิจัยชาวแคนาดา สหรัฐและในยุโรป ได้ทำการพัฒนาและหาวิธีใหม่ในการตรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กโลกจากระยะไกล ด้วยการใช้การปะทะชั้นของอะตอมโซเดียมที่ลอยอยู่เหนือโลก 100 กิโลเมตร โดยมีเลเซอร์ตั้งอยู่บนพื้น
แหล่งที่มา interestingengineering.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67