ดาวเทียม Starlink 2.0 อีลอน มัสก์เผยมันจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เตรียมส่งขึ้นสู่อวกาศ 42,000 ดวง
สตาร์ลิงก์ 2.0 (Starlink 2.0) มีขนาดใหญ่กว่าดาวเทียมสตาร์ลิงก์เวอร์ชันแรกที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยมีขนาดความยาว 7 เมตร น้ำหนัก 1.25 ตัน
อีลอน มัสก์เปิดเผยความคืบหน้าล่าสุดของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ (Starlink) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมที่พัฒนาโดยสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ในระหว่างการให้สัมภาษณ์บนช่อง Youtube ชื่อดัง Everyday Astronaut ความยาวประมาณ 32 นาที อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับดาวเทียม Starlink 2.0 ดาวเทียมเวอร์ชันใหม่ที่บริษัทกำลังพัฒนาและส่งขึ้นสู่อวกาศ
ดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0 มีขนาดใหญ่กว่าดาวเทียมสตาร์ลิงก์เวอร์ชันแรกที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยมีขนาดความยาว 7 เมตร น้ำหนัก 1.25 ตัน ซึ่งมีขนาดและน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเมื่อเปรียบเทียบกับดาวเทียมสตาร์ลิงก์เวอร์ชันแรกที่มีน้ำหนักเพียง 260 กิโลกรัม โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0 เนื่องจากบริษัทได้เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลของอุปกรณ์ภายในดาวเทียม
ดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0 เปิดตัวในปี 2021 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากขนาดของดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0 มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นทำให้การส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศพร้อมกันหลายดวงโดยจรวด Falcon 9 จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก อีลอน มัสก์เปิดเผยว่าจรวด Falcon 9 ไม่สามารถรองรับภารกิจการส่งดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0 และบริษัทต้องใช้ยานอวกาศ Starship ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อทำภารกิจขนส่งดาวเทียมสตาร์ลิงก์ 2.0
การพัฒนายานอวกาศ Starship ยังคงประสบปัญหาในขออนุมัติการทดสอบบินขึ้นสู่อวกาศจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) รวมไปถึงปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGO) เซียร่าคลับ (Sierra Club) ที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐเท็กซัส เกี่ยวกับการทดสอบจรวดของบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ได้ละเมิดข้อกฎหมายของรัฐเท็กซัส
ปัจจุบันดาวเทียมสตาร์ลิงก์เวอร์ชันแรกกำลังโคจรอยู่บนอวกาศ 2,300 ดวง โดยอีลอน มัสก์เปิดเผยเพิ่มเติมว่าโครงการ Starlink ทั้งหมดจะใช้ดาวเทียมมากถึง 42,000 ดวง ซึ่งยิ่งสร้างความกังวลให้กับหน่วยงานด้านอวกาศเกี่ยวกับปัญหาขยะอวกาศจากดาวเทียมและอุบัติเหตุบนอวกาศ อย่างไรก็ตามบริษัทสเปซเอ็กซ์ยืนยันว่าเมื่อดาวเทียมสตาร์ลิงก์หมดอายุการใช้งานมันจะตกลงมาสู่ชั้นบรรยากาศและถูกทำลายก่อนตกลงสู่โลก
ที่มาของข้อมูล cnet.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67