นาซาเปิดเผยภาพยานลงจอดของรถสํารวจเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance)
ภาพถ่ายโดยเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) แสดงให้เห็นถึงความเสียหายอย่างรุนแรงของชิ้นส่วน Back shell
นาซาเปิดเผยภาพยานลงจอดของรถสํารวจเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) มีชื่อว่า Back shell และร่มชูชีพ ที่ลงจอดบนดาวอังคารเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ผ่านมา ภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายโดยเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) แสดงให้เห็นถึงความเสียหายอย่างรุนแรงของชิ้นส่วน Back shell ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญที่นาซาจะนำไปศึกษาและพัฒนาเทคนิคการลงจอดของยานอวกาศบนดาวอังคารในอนาคต
รูปแบบการลงจอดบนผิวดาวอังคารโดยใช้ยานอวกาศและเครนขนาดใหญ่ยกตัวยานลงจอดอย่างนิ่มนวลของรถสํารวจเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญครั้ง 2 ของนาซา โดยก่อนหน้านี้นาซาเคยใช้วิธีการลงจอดในลักษณะใกล้เคียงกันในภารกิจรถสำรวจคิวริออซิตี (Curiosity) ที่ลงจอดบนดาวอังคารในวันที่ 22 สิงหาคม 2012
ยานอวกาศที่ส่งไปดาวอังคารแบ่งโครงสร้างทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย Cruise Stage ทำหน้าที่สร้างพลังงานไฟฟ้าขณะยานเดินทางบนอวกาศไปยังดาวอังคาร Back Shell ทำหน้าที่ปกป้องยานอวกาศและติดตั้งร่มชูชีพเพื่อชะลอความเร็วของยานอวกาศขณะตกลงสู่พื้นดาวอังคาร Descent Stage ส่วนนี้ทำหน้าที่คล้ายเครนขนาดใหญ่ยกตัวรถสํารวจเพอร์เซเวียแรนซ์ (Perseverance) ให้ลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคาร และ Heat Shield ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันความร้อนขณะยานเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศดาวอังคาร
สำหรับการถ่ายภาพของเฮลิคอปเตอร์อินเจนูอิตี (Ingenuity) หรือกินนี่ (Ginny) เป็นภารกิจการขึ้นบินครั้งที่ 26 นับจากการบินครั้งแรกบนดาวอังคารในวันที่ 19 เมษายน 2021 ซึ่งกลายเป็นการส่งยานอวกาศไปบินดาวเคราะห์ดวงอื่นครั้งแรกของมนุษย์
ข้อมูลภาพถ่ายของ Back shell และร่มชูชีพ ถูกส่งกลับมายังโลก ในเบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นว่าสารเคลือบป้องกันผิวยานด้านนอกยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์แม้โครงสร้างเกือบทั้งหมดของ Back Shell ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมดเนื่องจากตกกระทบพื้นผิวดาวอังคารด้วยความเร็ว 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญและอาจถูกใช้ออกแบบวิธีการลงจอดของยานอวกาศในภารกิจ Mars Sample Return ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มาของข้อมูล engadget.com
ที่มาของรูปภาพ nasa.gov
ข่าวแนะนำ
-
จีนทดลองวิ่งรถบรรทุกไร้คนขับ
- 08:11 น.
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67