TNN ศาลบราซิลสั่งแบน Telegram เนื่องจากละเลยการแก้ปัญหาข่าวปลอม

TNN

Tech

ศาลบราซิลสั่งแบน Telegram เนื่องจากละเลยการแก้ปัญหาข่าวปลอม

ศาลบราซิลสั่งแบน Telegram เนื่องจากละเลยการแก้ปัญหาข่าวปลอม

ประเทศบราซิลประสบปัญหาการปล่อยข่าวปลอมผ่านช่องทาง Telegram แอปพลิเคชันสนทนายอดนิยม

ปัจจุบันผู้คนเข้าถึงโลกออนไลน์มากขึ้นปัญหาข่าวปลอมกลายเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศ ล่าสุดประเทศบราซิลออกมาประกาศแบน Telegram แอปพลิเคชันชื่อดังด้านการสนทนาออนไลน์ เนื่องจากบริษัทไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการปัญหาบัญชีผู้ใช้งานที่สร้างข่าวปลอมออกมาจำนวนมาก


ศาลฎีกาประเทศบราซิลมีคำสั่งบังคับคดีให้ผู้ให้บริการ Telegram หยุดให้บริการในประเทศบราซิลภายใน 24 ชั่วโมง โดยจะต้องถอนแอปพลิเคชันออกจาก Google Play และ Apple App Store เพื่อให้เกิดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันดังกล่าวในประเทศบราซิล รวมไปถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องปิดกั้นผู้ใช้งานจากแอปพลิเคชัน Telegram


หากบริษัทหรือผู้ให้บริการไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะต้องถูกปรับเป็นเงิน 20,000 ดอลลาร์ต่อวัน หรือ 666,500 บาท นอกจากนี้ประชาชนที่แอบลักลอบใช้งาน Telegram อาจต้องปรับเป็นเงิน 20,000 ดอลลาร์ เช่นเดียวกัน นับเป็นมาตรการที่รุนแรงในระดับหนึ่ง

 

แม้จะเป็นคำสั่งของศาลฎีกาประเทศบราซิลแต่ทางด้านของประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาล เนื่องจากเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน นอกจากนี้ผู้สนับสนุนประธานาธิบดีจำนวนมากใช้งานแอปพลิเคชัน Telegram เป็นจำนวนมาก


สำหรับความเคลื่อนไหวของผู้ให้บริการ Telegram ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบและเรียกร้องให้ศาลชะลอคำสั่งบังคับคดีออกไปและขอโอกาสให้บริษัทจัดการกับปัญหาบัญชีผู้ใช้ที่ปล่อยข่าวปลอม โดยให้เหตุผลว่าบริษัทตระหนักถึงปัญหาเป็นอย่างดีแต่เกิดจากความพลาดในการส่งและเปิดอ่านอีเมลภายในบริษัททำให้ประเด็นการจัดการบัญชีผู้ใช้ที่ปล่อยข่าวปลอมยังไม่ได้รับการแก้ไข


Telegram แอปพลิเคชันสนทนาส่งข้อความ รูปภาพ เสียงและวิดีโอ จุดเด่นของ Telegram คือ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วไปยังกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากสมาชิกในกลุ่มสนทนาแต่กลุ่มรองรับได้กว่า 2 แสนราย แอปพลิเคชันเปิดให้ใช้งานแบบฟรี ปัจจุบันมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 550 ล้านคน หากนับเฉพาะผู้ใช้งานในบราซิลอาจมากถึง 50 ล้านคน หรือคิดเป็น 23-25% ของประชากรทั้งประเทศบราซิลที่ปัจจุบันอยู่ที่ 212.6 ล้านคน


ที่มาของข้อมูล engadget.comcybercrew.uk

ที่มาของภาพ unsplash.com

ข่าวแนะนำ