TNN 14 มีนาคม 1879 กำเนิดอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก

TNN

Tech

14 มีนาคม 1879 กำเนิดอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก

14 มีนาคม 1879 กำเนิดอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะเปลี่ยนโลก

14 มีนาคม 1879 กำเนิดอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถึงตัวจากไปแต่มรดกทางปัญญายังคงอยู่

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เกิดเมื่อวัน 14 มีนาคม 1879 มีน้องสาวเพียง 1 คน ชื่อ มายา ไอน์สไตน์ ประวัติชีวิตของเขาเป็นที่เล่าลือกันในคนหมู่มากมาจนถึงปัจจุบัน เขากลายเป็นภาพลักษณ์ของคำว่า "อัจฉริยะ" ที่ไม่มีใครลบล้างได้ ด้วยความฉลาดเกินคนทั่วไปและมุมมองที่เขามีแต่โลกใบนี้ 


ในปี 1905 (annus mīrābilis หรือ ปีมหัศจรรย์) เขาได้ตีพิมพ์เอกสารถึง 4 เรื่อง ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ อันนาเลนแดร์ฟิสิกส์ (หนังสือฟิสิกส์รายปี) 


- ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก อธิบายแบบสั้น ๆ ก็คือ ปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนหลุดออกจากสสาร เมื่อสสารสัมผัสกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ซึ่งเอกสารฉบับนี้ได้กลายมาเป็นเอกสารฉบับที่ทำให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในที่สุด

- การเคลื่อนที่แบบบราวน์ เป็นการเคลื่อนที่แบบสุ่มของอนุภาคที่แขวนลอยอยู่ในของเหลวหรือแก๊ส โดยมีเหตุจากการชนกันของอะตอมหรือโมเลกุล เอกสารฉบับที่ 2 ของเขานี้ ได้ทำให้นักฟิสิกส์ต้องหันมายอมรับการมีอยู่ของอะตอมมากขึ้น

- ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ เขาได้อธิบายเกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ สร้างเสียงฮือฮาในหมู่นักฟิสิกส์ (สัมพัทธภาพทั่วไปตีพิมพ์ในปี 1916)

- ความสมมูลมวล–พลังงาน เป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special relativity) ก่อให้เกิดสมการเลื่องชื่อ E=mc2


ภายหลังการเผยแพร่ของเอกสารทั้ง 4 ฉบับนี้ ได้มีนักวิทยาศาสตร์ทั้งสายทฤษฎีและสายปฏิบัติทยอยสนับสนุนทฤษฎีของไอน์สไตน์มากขึ้น จนมีคำกล่าวที่ว่าทฤษฎีของไอน์สไตน์ยิ่งพิสูจน์ยิ่งถูกต้อง โดยทฤษฎีทั้ง 4 ฉบับที่ไอน์สไตน์นำเสนอ ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญในการเกิด "ฟิสิกส์ยุคใหม่" และกลายเป็นเสาหลักของโลกฟิสิกส์มาจนถึงปัจจุบัน


นอกจากบทบาทการเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีแล้ว เขายังถือเป็นนักปรัชญาอีกด้วย เนื่องจากวิธีที่เขาคิดและมุมมองที่เขามีต่อโลกใบนี้


"มองให้ลึก ลึกลงไปในธรรมชาติ แล้วคุณจะเข้าใจทุกอย่างดีขึ้น" --จดหมายถึงมาร์กอท ไอน์สไตน์ หลังการเสียชีวิตของมายา ไอน์สไตน์ อ้างอิงโดย Hanna Loewy ใน A&E Television Einstein Biography, VPI International, 1991 วลีข้างต้นได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งวลีเลื่องชื่อที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงจนถึงปัจจุบัน


แด่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผู้สมบูรณ์แบบด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ


ข้อมูลจาก albert-einstein.org

ข่าวแนะนำ