"PowerHYDE" บ้านโซล่าเซลล์คนจน ทางออกของผู้ยากไร้
PowerHYDE บ้าน Net-zero ทางออกของผู้ยากไร้
อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างรูปแบบ Net-zero คือนวัตกรรมยุคใหม่ ที่จะช่วยให้โลกลดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างในวงกว้างลงได้
"PowerHYDE" คือบ้าน Net-zero ถูกสร้างและออกแบบโดย Prasoon Kumar กับ Robert Verrijt แห่ง Billion Bricks ที่มีฐานอยู่ในอินเดียและสิงคโปร์ ถูกออกแบบขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืน พร้อมส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในด้านการเติบโตให้กับผู้คนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีประชากรในชนบทจำนวนมากอีกทั้งยังมีรายได้ที่น้อย บ้านเหล่านี้ไม่ได้แค่ใช้เป็นที่พักพิงเท่านั้น แต่ยังเป็นโมดูลพลังงาน ที่สามารถช่วยขยายชุมชนที่ยั่งยืนและช่วยเจ้าของบ้านให้ออกจากความยากจนได้ใน 1 ชั่วอายุคย
ตัวบ้านสามารถปรับขนาดได้อย่างอิสระ สามารถสร้างพลังงานออกมาใช้เองได้ เก็บน้ำฝนได้ 100% ชะล้างสิ่งปฏิกูลได้เอง และยังสามารถปลูกอาหารเพื่อรับประทานเองได้อีกด้วย
PowerHYDE เป็นโครงสร้างโมดูลาร์แบบ Plug-and-Play ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับบริการใด ๆ สามารถใช้อยู่อาศัยได้ทันทีตั้งแต่วันที่ก่อสร้างเสร็จ ตัวบ้านสร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคสำเร็จรูปของชนพื้นเมือง นั่นทำให้ง่ายต่อการประกอบในสถานที่ที่ห่างไกล แต่จะพิเศษหน่อย ตรงที่ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา ตัวเจ้าของบ้านยังสามารถขายพลังงานส่วนเกินที่ผลิตได้คืนกลับให้บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า กลายเป็นรายได้เสริมง่าย ๆ ที่นำมาใช้จ่ายต่อได้
ความเจ๋งของ PowerHYDE การันตีด้วยรางวัล Holcim Award ในหมวดการก่อสร้างที่ยั่งยืน โดยมีบ้านตัวอย่างที่สร้างขึ้นในหมู่บ้านมัทจาลกอนในอินเดียและในฟิลิปปินส์ ซึ่งในอนาคต ทาง BillionBricks มีแผนจะสร้างชุมชนบ้าน 500 หลังใกล้กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ตัวชุมชุนสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 10 เมกะวัตต์
ชุมชน BillionBricks
BillionBricks เป็นชุมชนบ้านพลังงานแสงอาทิตย์แบบไม่สร้างคาร์บอนแห่งแรกของโลก สามารถช่วยครอบครัวหนึ่งให้หลุดจากความยากจนได้ในหนึ่งชั่วอายุคน ไม่เพียงแต่จะลดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างเท่านั้น มันยังช่วยให้ผู้คนจำนวนมากได้กลายเป็นเจ้าของบ้านที่มีพลังงานหมุนเวียน ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาเฉพาะส่วนบุคคลได้
แหล่งที่มา yankodesign.com
ข่าวแนะนำ
-
จีนทดลองวิ่งรถบรรทุกไร้คนขับ
- 08:11 น.
-
จีนเร่งพัฒนาจรวดขนส่งไปดวงจันทร์
- 20/6/67