TNN เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

TNN

กีฬา

เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

เทศบาลนครเชียงราย เตรียมจัด “การแข่งขันทักษะวิชาการ มหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น” ครั้งที่ 13 อย่างยิ่งใหญ่ ดึง “เอสที นักกีฬาโอลิมปิก!” สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน พร้อมจัดเต็มกิจกรรมตลอดการจัดงานสุดอลังการ

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ GMS เชียงราย (อาคารเจียงแสน) จังหวัดเชียงราย ได้มีการแถลงข่าวการจัดการแข่งขันทักษะวิชาการและงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 โดยมี นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย พร้อมด้วย คณะกรรมการจัดงานและตัวแทนหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมแถลงข่าว นอกจากนี้ได้รับเกียรติจากนักกีฬาทีมชาติไทย โอลิมปิกเกม ปารีส 2024 "น้องเอสที" วารีรยา สุขเกษม นักกีฬาสเก็ตบอร์ดสาวน้อยมหัศจรรย์วัย 12 ปี มาร่วมกันให้กำลังใจนักเรียนและนักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขัน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้อง ๆ เยาวชน พร้อมจัดเต็มกิจกรรมตลอดการจัดงานอีกด้วย

  เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า ในนามเทศบาลนครเชียงราย เจ้าภาพจัดการแข่งขันทักษะวิชาการและงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 เรามุ่งมั่นพัฒนาให้เชียงรายก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน สร้างโอกาสและอนาคตที่ดีให้กับลูกหลาน โดยมุ่งพัฒนาด้านการศึกษาให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) สอดคล้องกับที่องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ประกาศให้เทศบาลนครเชียงราย เป็นภาคีเครือข่ายด้านเมืองแห่งการเรียนรู้แห่งแรกของประเทศไทยในปี พ.ศ.2562 โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีองค์ความรู้รอบด้าน ยึดหลักการ "การศึกษาพัฒนาคน คนพัฒนาเมือง เมืองพัฒนาคน"

  เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

นายวันชัย จงสุทธานามณี ได้กล่าวอีกว่า การแข่งขันทักษะวิชาการและงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่นในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการแข่งขันในทุกระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา โดยแบ่งออกเป็นการประกวดแข่งขันสามัญ 108 รายการ 23 ประเภท และการประกวดแข่งขันอาชีวศึกษา 34 รายการ รวมทั้งหมด 142 รายการ อีกทั้งยังมีการมอบโล่รางวัลแก่ครูและผู้ดูแลเด็กดีเด่นของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แสดงศักยภาพของตนเองให้เป็นที่ประจักษ์   และได้เรียนรู้พัฒนาตนเองในทุกด้าน

  เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

"เทศบาลนครเชียงรายมีความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพและเจ้าบ้านที่ดี เรายินดีและพร้อมต้อนรับทุกท่านที่ได้มาเยือนเชียงราย ทั้งนักเรียนผู้ชนะจากการแข่งขันในระดับภาค ครูผู้ควบคุม ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะ รวมถึงผู้ปกครองจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 20,000 คน ผมในฐานะตัวแทนคณะกรรมการการจัดงานในครั้งนี้ ขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมเป็นกำลังใจให้กับผู้เข้าแข่งขัน พร้อมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ กับกิจกรรม Workshop ทั้ง 6 ฐาน ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในงานเสวนาทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา และการจัดแสดงผลงานทางวิชาการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับศักยภาพผู้เรียนให้มีมาตรฐานในระดับสากลต่อไป"

  เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

สำหรับการแข่งขันทักษะวิชาการและงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น ระดับประเทศ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2567 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2567 ณ สนามแข่งขันทั้ง 10 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ GMS เชียงราย (หอประชุมนครเชียงราย), มหาวิทยาลัยพะเยา วิทยาเขตเชียงราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ๒๐ เชียงราย, วิทยาลัยการอาชีพเชียงราย, วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย, เวทีรำวงสวนตุงและโคมนครเชียงราย, โรงเรียนเทศบาล ๖ นครเชียงราย, โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น และโรงเรียนเทศบาล ๘ บ้านใหม่

  เชียงราย ดึง “น้องเอสที” สร้างแรงบันดาลใจแข่งทักษะวิชาการ

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและเป็นที่ยอมรับในผลการตัดสินของผู้เข้าแข่งขัน ตลอดจนความโปร่งใสและเชื่อถือได้ เทศบาลนครเชียงรายและคณะผู้จัดงานได้เชิญคณะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ

จากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งในท้องถิ่นและทั่วประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันต่าง ๆ มากถึง 170 ท่าน การแข่งขันในบางประเภทได้รับเกียรติจากคณะกรรมการที่มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เช่น กรรมการการแข่งขันการกล่าวสุนทรพจน์, การแข่งขันการร้องเพลงลูกทุ่ง และการแข่งขันร้องเพลงพระราชนิพนธ์ อาทิ อาจารย์พะเยาว์ พัฒนพงศ์, อาจารย์เสน่ห์

ศรีสุวรรณ, ดร.อภิชาติ ดำดี, อาจารย์ประยงค์ ชื่นเย็น (นายกสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย/ศิลปินแห่งชาติ), อาจารย์วิไล พนม (นายกสมาคมนักแต่งเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย), ผศ.ดร.สุรินทร์ เมทะนี (ครูเบิร์ด), อาจารย์ทิพย์วัลย์ ปิ่นภิบาล, อาจารย์รุ่งโรจน์ ดุลลาพันธ์ และอาจารย์สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา (ครูโจ้) ร่วมเป็นคณะกรรมการผู้ตัดสิน

 

นอกจากการแข่งขันทักษะวิชาการแล้ว ยังมีงานมหกรรมการจัดการศึกษาท้องถิ่น โดยจะมี Workshop ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบของท้องถิ่นผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีอย่างลงตัว โดยส่งเสริมให้เด็กได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส ซึ่งถูกพัฒนาออกเป็น 5 ฐาน 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการมองเห็น ทายภาพสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย กิจกรรมการลิ้มรส ทดลองชิมอาหารท้องถิ่น กิจกรรมการได้กลิ่น ทดลองดมกลิ่นชา และใบชา กิจกรรมการได้ยิน ทดลองฟังภาษาเหนือพร้อมเรียนรู้ความหมาย กิจกรรมการสัมผัส ทดลองประดิษฐ์หมอนใบชาหรือเพนต์ลายเครื่องเคลือบดินเผา และกิจกรรมการประเมินความฉลาดรู้ PISA

 

อีกทั้งยังมีการเสวนาทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จากเวทีเสวนาทางวิชาการทั้ง 3 รอบ ในวันที่ 2-3 กันยายน 2567 เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับ

ข่าวแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง