ยลโฉม น้องเหมียว ลักษณะตรงตำราแมวไทยโบราณ
ยลโฉม น้องเหมียว ลักษณะตรงตำราแมวไทยโบราณ ของพระยาทิพโกษา
วันนี้ (20ก.พ.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก แมวสยาม cats of Thailand ได้ออกมาโพสต์ข้อความ โดยระบุว่า หลายคนไม่เคยเห็นตำรานี้ แอดมินไม่ค่อยได้นำเสนอเท่าไหร่ เป็นตำราของพระยาทิพโกษา ถูกเก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นตำราที่แปลกกว่าตำราอื่นๆ มีแมวไทยมากกว่า 23 ชนิด (มงคล 17 อัปมงคล 6) และเป็นตำราที่มีลักษณะของแมววิลาสมากที่สุดด้วย
ตำราฉบับนี้เป็นสมุดข่อย พระยาทิพโกษาเป็นผู้บริจาคให้หอสมุดแห่งชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ตำราถูกเขียนไว้ก่อนหน้านั้นนานมาก สันนิฐานว่าเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 - 5 และในตำรามีการอ้างอิงถึงอีกหลายๆตำราด้วย เช่น
แมวตัวดังกล่าวอยู่ในส่วนท้ายของตำราพระยาทิพโกษา อ้างถึงตำรานายศรี หรือนายบุญศรีเสมียน วาดไม่เหมือนของตำรานายนุดถึง 4 ตัว และมีอีก 13 ตัวที่แปลกออกไปอีก ซึ่งน่าจะหมายถึงแมวมงคลในตำราที่รวมเป็น 17 ชนิด มีลักษณะแตกต่างจากตำราอื่นๆ เช่น ลายเส้นสีขาวของแมววิลาศ หรือลายด่างของแมวมุลิลา เป็นต้น
แมวตัวดังกล่าวอยู่ในหมายเลข 12
ด้านซ้าย - ตำรานายบุญศรีเสมียน
ด้านขวา - ตำนานนายนุด
เป็นแมวที่ไม่ถูกระบุว่าเป็นชนิดใด ชื่ออะไร รวมถึงไม่มีกลอนบอกกล่าวด้วย บอกเพียงว่า แมวตัวที่ 12 ของนายบุญศรีเสมียนและนายนุดเขียนไว้ไม่เหมือนกัน ส่วนแมวมงคลของพระยาทิพโกษา ยังคงมีแมวมงคลและอัปมงคล รวม 23 ชนิดเขียนไว้เหมือนเดิม ซึ่งอยู่ในส่วนครึ่งเล่มแรกของตำรา
ในปัจจุบันเรายังหาตำราของนายบุญศรีเสมียนและตำราของนายนุดไม่เจอ ไม่ทราบว่าเสื่อมสลายหรือถูกเก็บรักษาไว้ที่ไหน แต่น่าจะเก่าแก่มากถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรืออ้างอิงได้ถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตำราของพระยาทิพโกษาได้เรียนวิชามาจากตำราดังกล่าวด้วย เป็นบุคคลเดียวกับที่จดบันทึกเรื่องราวของสมเด็จพุทธจารย์โต วัดระฆังฯ
CR : ขอบคุณรูปภาพน้องแมวจากลูกเพจ ตอนนี้แอดมินกำลังติดตามผลอยู่