TNN ไฟไหม้จตุจักร งูคิดสั้นกัดตัวเองในกองเพลิง ผู้เชี่ยวชาญเฉลยเกิดเพราะอะไร

TNN

Social Talk

ไฟไหม้จตุจักร งูคิดสั้นกัดตัวเองในกองเพลิง ผู้เชี่ยวชาญเฉลยเกิดเพราะอะไร

ไฟไหม้จตุจักร งูคิดสั้นกัดตัวเองในกองเพลิง ผู้เชี่ยวชาญเฉลยเกิดเพราะอะไร

ไฟไหม้จตุจักร พบซากงูคิดสั้นกัดตัวเองในกองเพลิง ชาวเน็ตตั้งคำถามเป็นการปลิดชีพตัวเองให้พ้นทุกข์หรือไม่ เชี่ยวชาญเฉลยพฤติกรรมแบบนี้เกิดเพราะอะไร

จากกรณีไฟไหม้โซนสัตว์เลี้ยง บริเวณตลาดนัดจตุตักร โดยบริเวณที่เกิดเหตุนั้นเป็นโซนของสัตว์แปลก สัตว์เลื้อยคลาน และ ปลาสวยงาม ส่งผลให้มีสัตว์ตายนับพันตัว ซึ่งเรื่องราวนี้สะเทือนใจในกลุ่มคนทั่วไป และ คนรักสัตว์ในวงกว้าง ซึ่ง นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย ได้โพสต์ภาพของงูที่ตายขณะไฟไหม้ โดยมีลักษณะกัดตัวเอง พร้อมระบุข้อความว่า “ตอนไฟไหม้ร้าน งูก็คงจะทรมานมาก ถึงขนาดต้องกัดตัวเอง ผมดูลักษณะงูที่ตายเป็นร้อยๆ ตัวในเช้าวันอังคาร 11 มิถุนายน 2567  จำนวนไม่น้อยต้องกัดตัวเอง ขอให้ไปสู่สุคติภูมิ อย่าได้มาเกิดให้มนุษย์กักขังอีกเลย”



โพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ออกไปนับหมื่นครั้ง ชาวเน็ตต่างเข้ามาไว้อาลัยและสงสารอย่างจับใจ ถึงแม้จะเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ แต่ก็ไม่สมควรที่จะมาตายในกองเพลิงแบบไม่มีทางหนี อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าวมีการตั้งคำถามว่าพฤติกรรมการกัดตัวเองของงู เป็นการฆ่าตัวตายช่วยตัวเองให้พ้นทุกข์หรือไม่ 


ในเรื่องนี้  'นิค นิรุทธ์ ชมงาม เจ้าของ เพจ Nick Wildlife ยูทูบเบอร์ชื่อดัง วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญในการจับงูและให้ความรู้เกี่ยวกับงูได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการกัดตัวเองของงูไว้เมื่อเดือนธันวาคมของปี 2566 โดยระบุว่า 


งูคิดสั้น กัดตัวเองดับ!!ทำไมมันจึงทำเช่นนั้น?


“พฤติกรรมในการกัดตัวเองของงูก็จะมีมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่นการจะเป็นความเครียด หรืออาจจะมีอาการทางระบบประสาท และก็ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ หรืออาจจะมีอาการบาดเจ็บเช่นถูกทำร้ายมารู้สึกเจ็บจะเป็นปฏิกิริยาในการป้องกันตัวโดยการแว้งมากัด ที่ในบางครั้งกัดไม่เเม่นแล้วก็กัดไปโดนตัวเองเข้าก็มีให้เป็นอยู่บ่อย ๆ เวลาเราเข้าไปจับงู 


งูจะเป็นสัตว์ที่มีธาตุทรหดสูงเวลาถูกรถทับถูกตีมาเขามักจะมีความทนทานกว่าจะตายใช้เวลานาน เนื่องจากว่าเขาเป็นสัตว์เลือดเย็นสมองต้องการออกซิเจนเข้ามาเลี้ยงน้อยกว่าสัตว์เลือดอุ่น ดังนั้นบางทีกว่าจะตายก็กินระยะเวลาไปนานและภาวะก่อนจะตายในบางครั้งคือจะมีอาการทุรนทุราย อาการนี้จะเป็นอาการที่ เหนือการสั่งการของสมอง และงูจะมีการดิ้นหมุนไปหมุนมาทุรนทุราย 


ตอนนั้นงูก็จะเริ่มอ้าปาก แล้วอะไรก็ตามที่ผ่านปากเข้าไป เขาอาจจะกัดได้ในทันที ปัญหาคือลักษณะโครงสร้างฟันของงูมันจะมีลักษณะที่ปลายแหลม มันมีการงุ้มเข้าไปในช่องปาก สาเหตุที่เป็นแบบนี้เวลาเขาจับเหยื่อพอเขี้ยวเกี่ยวปุ๊บก็จะเป็นการดึงเข้ามาทำให้เหยื่อดิ้นหลุดได้ยาก และสมมุติว่าเขามีอาการณ์ทุรนทุรายแล้วก็กัดตัวเอง เขาก็จะดึงปากออกได้ยากเช่นกัน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์แบบนี้ ก็คือมีการกัดค้างอยู่จนตายนั้นเอง”



ข้อมูลจาก: Nick Wildlife

ภาพจาก:  นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย