TNN สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ "นครวัด-นครธม"

TNN

Social Talk

สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ "นครวัด-นครธม"

สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ นครวัด-นครธม

สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ สร้างเลียนแบบนครวัด ด้านทางการกัมพูชาออกแถลงชี้แจงแล้ว

เป็นกระแสดรามาระดับประเทศระหว่างไทยกับชาวโซเชียลกัมพูชา ซึ่งมักจะมีปัญหากันเป็นระยะๆ ในการถกเถียงในด้านการเป็นเจ้าของวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกาย หรือ แม้กระทั่งอาหารการกิน  ล่าสุดได้มีประเด็นใหม่เกิดขึ้นอีกแล้วในกรณีของ “วัดภูม่านฟ้า” ซึ่งชาวเน็ตกัมพูชาบางส่วนกล่าวอ้างว่าประเทศไทยนั้นก็อปปี้รูปแบบการก่อสร้างของนครวัด ถึงขั้นที่จะส่งเรื่องร้องเรียนไปยังยูเนสโกเลยทีเดียว เรามาดูกับว่าเรื่องนี้มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร 


- เมื่อปี ประมาณเดือนกรกฏาคม 2564 มีประเด็นกระแสร้อนในโลกโซเชียลของกัมพูชาว่า ประเทศไทยได้มีสร้าง “อาณาจักรสีหนคร” ที่มีความคล้ายคลึงปราสาทนครวัด-นครธม จนกลายเป็นดรามา โดยสถานที่แห่งนี้คือวัดภูม่านฟ้า หรือ วัดพระพุทธบาทศิลา ในอ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 


โดยวัดดังกล่าวได้รับการอนุญาตให้สร้างเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2562  สิ่งก่อสร้างภายในวัดเป็นการแกะสลักหินทรายเป็นรูปทรงต่างๆ คล้ายกับศิลปะอินเดีย และ อาณาจักรขอม จุดประสงค์ของวัดคือการสร้างวัดให้สวยงามและเพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คการท่องเที่ยว ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาทำบุญที่วัด  

สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ นครวัด-นครธม


-  หลังจากเกิดประเด็นดรามาดังกล่าว พระอาจารย์สมศักดิ์ สังวรจิตโต เจ้าอาวาส ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การสร้าง วัดภูม่านฟ้า  เป็นแค่การสะท้อนการก่อสร้างปราสาทหินของคนโบราณในอดีต และ รูปแบบการก่อสร้างเกิดจากนิมิตรและจินตนาการไม่ได้ลอกเลียนแบบมาจากสถานที่ใดทั้งสิ้น 


- ทางวัดได้โพสต์หน้าเพจเฟซบุ๊กเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยระบุว่า “จากเหตุการณ์ที่เกิดการขัดแย้งกันของคนไทยและกัมพูชานั้น  ทางวัดขอชี้แจงว่า การก่อสร้างของวัดภูม่านฟ้าไม่ได้ลอกเลียนแบบมาจากที่ใดทั้งสิ้น  ทางวัดขอยืนยันทั้งรูปแบบ ลวดลาย ศิลป วัตถุประสงค์ในการสร้างทั้งหมด  ทางวัดสร้างปราสาทเพื่อประดิษฐถานพระพุทธรูปไว้ภายในทั้งสามปราสาท  หรือจะเรียกว่าเป็นหอพระก็ได้ เพียงแต่การสร้างเราใช้หินทรายในการก่อสร้าง  แต่ที่เป็นเหตุขัดแย้งกันนั้นเกิดการเข้าใจผิด และมุมจากภาพถ่ายที่ถ่ายมาแล้วสวยงามตามความคิดของช่างภาพ แต่มุมมองมองแล้วทำให้คิดว่าเป็นปราสาทสามยอดของกัมพูชา" 


สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ นครวัด-นครธม


- กระแสดังกล่าวได้เงียบหายไปชั่วครู่ แต่ก็กลับมาเป็นประเด็นอีกระลอกหนึ่งในเดือนกันยายน 2566 เมื่อมี ยูทูปเบอร์ กัมพูชารายหนึ่ง ได้ทำคลิปวิพากษ์วิจารณ์ “วัดภูม่านฟ้า” จุดประเด็นในโลกโซเชียลของกัมพูชาอีกครั้ง 


- กระทรวงวัฒนธรรมของกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งคาดว่าเป็นการเบรกกระแสสังคมในโลกโซเชียล โดยมีใจความว่า  “กระทรวงวัฒนธรรมและวิจิตรศิลป์ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด และประสานทางไทยรวมทั้งได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบแล้ว เพื่อไม่ให้ใช้แบบนครวัด ”


สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ นครวัด-นครธม


- นอกจากนี้ยังมีกรณีของชาวกัมพูชารายหนึ่งมีการเปิดรับการบริจาคเพื่อนำเงินไปตรวจสอบ "วัดภูม่านฟ้า" โดยยอดบริจาคพุ่งไปถึง 1,300 ดอลลาร์  ( ประมาณ 44,200 บาท)  แต่จู่ๆ ชายหนุ่มรายนี้ได้ออกมาอัปเดตว่าจะไม่เดินทางไปตรวจสอบ “วัดภูม่านฟ้า” แล้ว เนื่องจากทางการกัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ว่าไม่สามารถระงับการก่อสร้างของวัดได้ และ ขอยกเลิกโครงการนี้ ส่วนเงินบริจาคไม่สามารถคืนเงินได้ แต่จะนำเงินไปบริจาคในการกุศลเรื่องอื่นๆแทน  


อย่างไรก็ตามยังมีชาวกัมพูชาบางส่วนอยากนำเรื่องนี้ส่งไปให้ทางยูเนสโกตรวจสอบ และ มีการเข้าไปโพสต์เพื่อเรียกร้องให้ยูเนสโกดำเนินการบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมกับติด #UNESCO และ #RespectAngkorwatUNESCOCambodia ต้องรอดูกันต่อไปว่าเรื่องนี้จะไปจบลงที่ตรงไหน และ กระแสจะเงียบหายไปเหมือนจุดเริ่มต้นของดรามาหรือไม่ 


สรุปดรามา “วัดภูม่านฟ้า” ชาวกัมพูชากล่าวหาไทยก็อปปี้ นครวัด-นครธม


สำหรับ “วัดภูม่านฟ้า” นั้นมีพื้นที่ทั้งหมด 200 ไร่ เต็มไปด้วยก้อนหินที่นำมาแกะเป็นรูปลักษณ์อักษรทางพระพุทธศาสนา โดยมีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์ภายในวัดภูม่านฟ้า คือ หลวงปู่หิน  นอกจากนี้ยังมี ศาลาที่รวบรวมของโบราณที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ เช่น เครื่องปั้นดินเผา แจกันน้อยใหญ่ อุปกรณ์ทอผ้าสมัยโบราณ รถยนต์โบราณ คราบงูที่มีขนาดใหญ่  และ ไฮไลท์สำคัญคือ "พระมหาเจดีย์" สถานที่ประดิษฐาน "พระบรมสารีริกธาตุ" สร้างขึ้นจากหิน และแกะสลักด้วยมือทั้งหมด ซึ่งเป็นแลนมาร์คด้านการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมได้เป็นอย่างดี


ภาพจาก : วัดภูม่านฟ้า