TNN เปิดที่มา "กระบอกตั๋ว" อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ "ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก"

TNN

สังคม

เปิดที่มา "กระบอกตั๋ว" อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ "ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก"

เปิดที่มา กระบอกตั๋ว อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) พาไปทำความรู้จัก "กระบอกตั๋ว" อาวุธคู่กายของพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง โดยมีกฎที่ว่า "ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก"

วันนี้ (25 พ.ย.64) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) พาไปทำความรู้จัก "กระบอกตั๋ว" อาวุธคู่กายของพนักงานเก็บค่าโดยสารรถประจำทาง หรือที่มักจะเรียกกันว่า "กระเป๋ารถเมล์" โดยเผยแพร่ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก "BMTA องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ระบุว่า

"แก๊ปๆ....แก๊ปๆ....มีตั๋วหรือยังค๊า" เสียงที่คุ้นเคยของผู้โดยสารรถเมล์  เชื่อว่าสมัยที่พวกเรายังเป็นเด็กต้องเคยอยากจะถือกระบอกตั๋ว ที่ส่งเสียงดังแก๊ปๆ แบบพี่กระเป๋ารถเมล์บ้างอย่างแน่นอน วันนี้แอดมินจะมาชวนคุยเรื่องกระบอกตั๋วที่กระเป๋ารถเมล์ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเก็บเงินค่าโดยสารกัน

กระบอกตั๋วเริ่มใช้ครั้งแรกกับกระเป๋ารถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ จำกัด เพื่อใช้เก็บตั๋วโดยสาร (ตั๋วม้วน) เพียงอย่างเดียว ส่วนเงินสดจะเก็บไว้ในกระเป๋าสะพาย ปัจจุบันเพื่อความสะดวกกระเป๋ารถเมล์ จึงใส่ทั้งตั๋วและเหรียญไว้ในกระบอกตั๋ว  

เปิดที่มา กระบอกตั๋ว อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก

ส่วนวัสดุที่ใช้ผลิตกระบอกตั๋วในยุคของบริษัท นายเลิศ ทำจากทองเหลือง แต่ในยุคปัจจุบันผลิตจากสังกะสี ซึ่งมีราคาไม่แพง แต่ไม่คงทน ผุง่าย เพราะโดนเหงื่อจากมือของกระเป๋ารถเมล์ขณะใช้งาน

ต่อมาจึงมีการนำสแตนเลสมาผลิตเป็นกระบอกตั๋ว ซึ่งมีราคาแพงกว่ากระบอกสังกะสี แต่มีน้ำหนักเบากว่าและทนทานกว่า (ถ้าไม่ทำกระบอกตกนะคะ) 

กระบอกทั้ง 2 ชนิด ยังคงใช้ทองเหลืองในการทำเป็นใบมีด เพื่อใช้ฉีกตั๋ว ซึ่งถ้าใช้ไปนาน ๆ ใบมีดก็จะทื่อ กระเป๋ารถเมล์จึงต้องพกกระดาษทรายไว้เพื่อลับทองเหลืองให้คมอยู่เสมอ

เปิดที่มา กระบอกตั๋ว อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก

โดยปกติแล้วกระเป๋ารถเมล์ทุกคน จะมีกระบอกตั๋วส่วนตัว มีการตกแต่งลวดลายตามสไตล์ของแต่ละคน เช่น การติดสติกเกอร์ หรือ เจาะกระบอกเป็นลวดลาย เป็นต้น เพื่อให้รู้ว่าอันไหนเป็นกระบอกของฉัน!     

แต่ละคนก็จะพกติดตัวไว้ตลอดเวลาเหมือนอาวุธคู่กายของพี่ๆ เขาเลย แต่กระบอกนี้พี่ๆ กระเป๋าจะไม่สามารถนำกลับบ้านได้ ซึ่งทุกอู่รถเมล์จะมีห้องสำหรับเก็บกระบอกโดยเฉพาะเลย

เปิดที่มา กระบอกตั๋ว อาวุธคู่กายกระเป๋ารถเมล์กับกฎ ห้ามยืม ห้ามห่างตัว ห้ามทำตก

การดูแลรักษาอาวุธคู่กายนี้ ถือเป็นอุปกรณ์ส่วนตัวที่พี่ๆ เขาหวงแหนมาก จะมีกฎเหล็กของชาวกระเป๋ารถเมล์อยู่ว่า... " ห้ามยืม - ห้ามห่างตัว - ห้ามทำตก"

ห้ามยืม คือ เมื่อเบิกตั๋วใส่กระบอกแล้ว ตั๋วแต่ละม้วนที่ถูกเบิกออกไปจะเป็นความรับผิดชอบของกระเป๋าแต่ละคน

ห้ามห่างตัว คือ ข้างในกระบอกนอกจากจะมีตั๋วโดยสารแล้วก็ยังมีเหรียญเงินทอนที่ใส่เตรียมไว้ก่อนออกให้บริการอีกด้วย

ห้ามทำตก คือ หากกระบอกตกจะทำให้กระบอกปิดไม่สนิท ตัดตั๋วไม่ขาด


ข้อมูลจาก BMTA องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

ภาพจาก AFP , BMTA องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ



ข่าวแนะนำ