TNN 28 กันยายน 2564 ครบรอบ 104 ปี แห่งการพระราชทานธงชาติไทย

TNN

สังคม

28 กันยายน 2564 ครบรอบ 104 ปี แห่งการพระราชทานธงชาติไทย

28 กันยายน 2564 ครบรอบ 104 ปี แห่งการพระราชทานธงชาติไทย

28 กันยายน 2564 เป็นวันครบรอบ 104 ปี “ธงไตรรงค์” เป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)

ภาพประกอบปกจาก / สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี




วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมซึ่งนำโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาราชการแทนนำยกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 28 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันพระราชทานธงชาติไทย” โดยให้เริ่มในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560 เป็นปีแรก แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ  รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติในวันดังกล่าวด้วย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกถึงการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ที่พระองค์ได้พระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

โดยวันนี้ ( 28 กันยายน พ.ศ. 2564)  เป็นวันครบรอบ 104  ปี “ธงไตรรงค์”




28 กันยายน 2564 ครบรอบ 104 ปี แห่งการพระราชทานธงชาติไทย ขอบคุณข้อมูล :  วิกิพีเดีย

 

 



ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ เป็นธงชาติของประเทศไทย มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย  (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) แทนธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 3) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำตัวช้างเผือกไม่สวยงาม  โดยเริ่มแรกในปี พ.ศ. 2459 ได้ประกาศใช้ธงแดง-ขาว 5 ริ้วเป็นธงค้าขายสำหรับสามัญชนไปก่อน ก่อนจะเติมสีขาบลงไปบนแถบกลางเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่ายสัมพันธมิตร และเพื่อระลึกถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 และใช้เป็นธงชาติไทยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


“ความหมายของธงไตรรงค์”


ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า


สีแดง หมายถึง เลือดของเราที่สามารถยอมพลี เพื่อรักษาเอกราชของชาติ


สีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ แห่งคำสอนตามหลัก พระพุทธศาสนา และการมีธรรมะประจำใจ คนไทย


สีน้ำเงิน หมายถึง สีทรงโปรดของพระองค์ท่าน หรือเป็นสีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ และยังเป็นสีประจำพระชนมวาร 


อ้างอิงจาก (http://phranon.go.th/public/news_upload/backend/files_42_1.docx)






28 กันยายน 2564 ครบรอบ 104 ปี แห่งการพระราชทานธงชาติไทย ขอบคุณข้อมูล :  วิกิพีเดีย

 


การเคารพธงชาติ


ชาวไทยแสดงความเคารพต่อชาติด้วยการหยุดนิ่งในอาการสำรวมในระหว่างการบรรเลงเพลงชาติ แม้จะไม่เห็นการชักธงชาติก็ตามการเคารพธงชาติในปัจจุบันได้ยึดถือหลักการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศ ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กล่าวคือ เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรง หันไปทางเสาธง อาคาร หรือสถานที่ที่มีการชักธงชาติขึ้นและลง จนกว่าจะเสร็จการ ในกรณีที่ได้ยินเพลงชาติหรือสัญญาณการชักธงชาติ จะเห็นหรือไม่เห็นการชักธงชาติก็ตาม ให้แสดงความเคารพโดยหยุดนิ่งในอาการสำรวม จนกว่าการชักธงชาติหรือเสียงเพลงชาติ หรือสัญญาณการชักธงชาติจะสิ้นสุดลง


สำหรับการเคารพธงชาติของทหารนั้น เมื่อมีการชักธงชาติขึ้นและลง นายทหารสัญญาบัตรทุกนาย ให้แสดงความเคารพโดยการยืนตรงทำวันทยาหัตถ์ ไม่ว่าจะอยู่ในแถวหรือนอกแถว ส่วนนายทหารประทวนและพลทหาร ให้ทำวันทยาหัตถ์ขณะยืนอยู่นอกแถวทหารเท่านั้น หากอยู่ในแถวทหาร ให้ใช้ท่าตรง ส่วนแถวทหารที่มีอาวุธ นายทหารผู้ควบคุมแถวจะสั่งแสดงความเคารพโดยการทำวันทยาวุธ และสั่งเรียบอาวุธเมื่อธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาเรียบร้อยแล้ว พิธีกร เมื่ออยู่ในแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ สงบนิ่ง ให้ก้าวออกไป 1 ก้าว สั่งแล้วให้ถอยกลับเข้าที่




การใช้ธงชาติกับผู้เสียชีวิต

ธงชาตินั้นสามารถใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศศพหรืออัฐิได้ โดยบุคคลที่สามารถใช้ธงชาติประกอบเกียรติยศได้นั้น[28] ได้แก่


- ประธานองคมนตรี

- ประธานรัฐสภา

- นายกรัฐมนตรี

- ประธานศาลฎีกา

- ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

- ผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่หรือช่วยเหลือในการสู้รบ หรือเพื่อปกป้องอธิปไตยหรือรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ หรือเพื่อปราบปรามการกระทำผิดต่อความมั่นคงของรัฐและพระมหากษัตริย์

- ผู้เสียชีวิตจากการแสดงความกล้าหาญช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐ

- บุคคลที่ทางราชการเห็นสมควร

- ส่วนการใช้ธงชาติคลุมศพนั้น สามารถใช้ในการพิธีรับพระราชทานน้ำอาบศพหรือพิธีรดน้ำศพ หรือระหว่างการเคลื่อนย้ายศพเพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา หรือในพิธีปลงศพตามประเพณีของทหารเรือ


ขอบคุณข้อมูล :  วิกิพีเดีย

ข่าวแนะนำ